Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19059
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลวิชาพระพุทธศาสนาโดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT และทฤษฎีปลูกฝังนิสัยเพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of a distance education instructional model for Buddhist subject integrating 4 MAT learning activities and habit cultivating theories to develop moral reasoning of ninth grade students in Bangkok Metropolis
Authors: ลีลาวดี วัชโรบล
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
chaiyong@irmico.com, chaiyong@ksc.au.edu
Subjects: การศึกษาทางไกล
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การสอนแบบ 4 แมท
ระบบการเรียนการสอน
พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน
การพัฒนาจริยธรรม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลวิชาพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MATและทฤษฎีปลูกฝังนิสัยเพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงวิจัย และพัฒนามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความคิดเห็นของครูและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนทางไกล 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกล และ 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลวิชาพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT และทฤษฎีปลูกฝังนิสัยเพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามครูและนักเรียน แบบวัดความรู้ แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน และแบบสอบถามผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพ ปัญหาและความคิดเห็น ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 100 คนและนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์จานวน 15 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบของการเรียนการสอนทางไกลมี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอนทางไกล 2) เทคโนโลยีการเรียนการสอน 3) หลักสูตรการเรียนการสอน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนทางไกล 6) ปัจจัยเกื้อหนุน และ 7) ผู้เรียนทางไกล 2. ขั้นตอนการเรียนการสอนทางไกลมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเรียนการสอนทางไกลผ่านโทรทัศน์มี 11 ขั้นตอน คือ 1) ปฐมนิเทศหน่วยการเรียน 2) วัดความรู้และเหตุผลเชิงจริยธรรมก่อนเรียน 3) สร้างประสบการณ์ (Why) 4) วิเคราะห์ประสบการณ์ (Why) 5) พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (What) 6) พัฒนาความรู้ความคิด (What) 7) ปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ (How) 8) สร้างชิ้นงานของตน (How) 9) วิเคราะห์ผลงานและนาไปใช้ (If) 10) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (If) และ 11) วัดความรู้และเหตุผลเชิงจริยธรรมหลังเรียน และส่วนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมประจำวันผ่านกระดานสนทนาจำนวน 21 วันระหว่างคาบเรียนของสัปดาห์ มี 8 ขั้นตอน คือ 1) สร้างคุณค่าและประสบการณ์จาก 11 กิจกรรม (Why) 2) วิเคราะห์ประสบการณ์ (Why) 3) ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (What) 4) เติมเต็มความรู้ (What) 5) พิจารณาสิ่งที่ตนเองต้องการแก้ไข (How) 6) แสดงภาพการทำกิจกรรม 11 ภาพ (How) 7) วิจารณ์กิจกรรมของเพื่อนและแสดงความคิดเห็น (If) และ 8) แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปประโยชน์การเรียนรู้ 3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางไกล มีคะแนนความรู้และคะแนนเหตุผลเชิงจริยธรรมหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลอยู่ในระดับ พอใจอย่างยิ่ง และความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของนักเรียนอยู่ในระดับพอใจอย่างยิ่ง
Other Abstract: To develop distance education instructional model for Buddhist subject integrating 4 MAT learning activities and habit cultivating theories to develop moral reasoning of ninth grade students in Bangkok metropolis. The research and development process was divided into 4 phrases: 1) study the opinions of teachers and ninth grade students on the current situations of studying Buddhist subject, 2) develop the distance education instructional model integrating 4 MAT learning activities and habit cultivating theories to develop moral reasoning, 3) study the results of using the model, and 4) propose the distance education instructional model for moral subject integrating 4 MAT learning activities and habits cultivating theories to develop moral reasoning of ninth grade students. The sample groups used for this research were 100 high-school Buddhist subject teachers and 400 ninth grade students purposively selected from high schools in Bangkok metropolis. The sample groups used for model implementation were 15 ninth grade students from Silajarapipat School. The quantitative statistics used in this research were frequency, percentage, mean and t-test dependent. The research findings indicated that: 1. The 7 components of distance education instructional model for Buddhist subject integrating 4 MAT learning activities and habit cultivating theories to develop moral reasoning were 1) distance learners, 2) distance instructor, 3) learning environment, 4) supportive factors, 5) 4 MAT learning activities (Why – What – How – If) and habit cultivating theories, 6) learning curriculum, and 7) educational technologies. 2. Learning steps are comprised of 2 modes; television and web-based. Television mode composed of 11 steps:1) Orientation, 2) knowledge and moral reasoning pretest; 3) construct experience (Why); 4) analyze lesson learned (Why); 5) develop conceptual knowledge (What); 6) improve conceptual knowledge (What); 7) implement learned concepts (How) 8) create learning product (How) 9) analyze learning product and implementation (If); 10) exchange experiences (If); and 11) knowledge and moral reasoning posttest. Web-based mode consisted of 8 steps for 21-days-learning activities through web board; 1) encounter experiences – 11 activities (Why); 2) analyze experience (Why); 3) transform experiences into concepts (What); 4) fulfill knowledge (What); 5) take concepts to action (How); 6) Present pictures – 11 activities (How); 7) check and share knowledge with friends (If); and 8) summarize learned experiences (If). 3. The knowledge and moral reasoning pretest was significantly higher than posttest at the level of .05. In addition, teachers, students and parents were highly satisfied with students' habit changes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19059
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.206
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.206
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Leelavadee_va.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.