Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19068
Title: | การสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพในเยาวชน : กรณีเครือข่ายเยาวชนงดเหล้า |
Other Titles: | Adolescent health communication camapign : a case study in network for anti-alcohol consumption |
Authors: | มนต์ ขอเจริญ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เยาวชน -- สุขภาพและอนามัย การสื่อสาร |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน โดยมุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยเร่งปฏิกิริยา การมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร และผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเครือข่ายเยาวชนที่ได้รับการสนับสนุนทุนการดำเนินงานโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตการณ์ และการใช้แบบสอบถาม จำนวน 549 ตัวอย่าง จากเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเครือข่ายทั่วประเทศ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพเพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนนั้นสะท้อนการผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบแพร่กระจาย และการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้แบบจำลองมีองค์ประกอบสำคัญสามประการคือ ปัจจัยเร่งปฏิกิริยา การมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสาร และผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยเร่งปฏิกิริยานั้นประกอบด้วยการทำงานร่วมกันของปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ แรงกระตุ้นที่เกิดจากภายในตัวเยาวชนเอง ประสบการณ์การเรียนรู้จากกิจกรรมของเครือข่าย และการสร้างการรับรู้ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งปัจจัยเร่งปฏิกิริยานี้จะกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความตั้งใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารรณรงค์ในสองขั้นตอนคือ การสื่อสารเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน และการสื่อสารประเด็นสาธารณะ ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล และระดับสังคมของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ผลการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพในเยาวชน ที่พัฒนาจากแบบจำลองเชิงบูรณาการของกระบวนการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Integrated Model of Communication for Social Change) ของ Figueroa, Kincaid, Rani and Lewis (2002) พบว่าปัจจัยที่ส่งอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงระดับสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ส่วนตัวแปรที่ส่งอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล คือ ปัจจัยเร่งปฏิกิริยา และการมีส่วนร่วม โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.511 0.217 ตามลำดับ สำหรับตัวแปรการมีส่วนร่วม ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยเร่งปฏิกิริยา เท่ากับ 0.423 ผลการวิจัยสามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุดังกล่าว คือ การมีส่วนร่วมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่ำกว่าปัจจัยเร่งปฏิกิริยาเพราะเยาวชนมีส่วนร่วมในลักษณะ “กึ่งมีส่วนร่วม” (semi-participation) ในกระบวนการสื่อสาร เหตุเพราะแกนการสื่อสารในการรณรงค์ยังเป็นการสื่อสารแบบแพร่กระจายที่ให้น้ำหนักกับการถ่ายทอดความรู้ในทิศทางต่างๆ โดยมีเยาวชนรับบทบาทเป็นตัวแทนการสื่อสาร (communicative agent) ขององค์กรอุปถัมภ์ทุน อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าหลักสำคัญสามประการในแบบจำลองการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพในเยาวชน คือ ความตั้งใจมุ่งมั่น การรู้เท่าทัน และการมีอำนาจในการตัดสินใจ |
Other Abstract: | This research aims to develop an alternative model for health communication campaign in adolescent anti-alcohol consumption control by examining the causal relationships between catalysts, participatory process and outcomes. Moreover, youth anti-alcohol consumption networks whom under sponsorship by the Thai Health Promotion Foundation, were focused as a case study. Theories from diffusion and participatory models are employed as the foundation to develop the model. Additionally, a sequential exploratory strategy which reflected mixed methods were strategically employed as research methodology. Qualitative data were collected by in-depth interviews, non-participatory and participatory observations, document analysis. Quantitative data were collected from questionnaires of 549 respondents of youth who involved in the communication process around the country. Thus, the data were analysed by using Pearson Product-Moment Correlation Coefficients, Multiple Regression Coefficients, Structural Equation Model analysis by LISREL programme and the Analysis of Variance. The result presents an integrated communication process model for change which combined of diffusion and participatory approaches. There are three components consist in the model; catalysts, participatory process and outcomes. Three catalysts which significantly stimulate commitment level of youth participation are internal stimulus, learning experience derived from change agents activities and insightful message from mass media. To mobilize individual and social change in youth community, adolescent health communication campaign involves two interdependent communication approaches: empowering and capacity building approach and public communication approach. Furthermore, findings show that the variable which had positive direct effect towards social change was individual change. In addition, the variables which had positive direct effect towards individual change were catalysts (0.511) and participating in communication process (0.217) accordingly. In the meantime, catalyst had positive direct effect towards participation in communication process (0.423). These causal relationships can be further explained through research findings that youth participation in the campaign was reflected the notion of emi-participation} in which the diffusion model was prevailed over the communication process. Youth, hence, were empowered to become a communication agent for sponsoring organization to innovatively diffuse knowledge in multi-direction. The finding also indicates that the integrated practice of diffusion model and participatory model in health communication campaign need to be balanced in order to maximize the desired outcomes. Finally, this research proposes alternative communication model for change which consisted of commitment-knowledge-decision making. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19068 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.536 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.536 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mon_ko.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.