Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1907
Title: ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล การเปิดเผยตัวเอง การสนับสนุนทางสังคม ความหวังการรับรู้ภาวะสุขภาพ และสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
Other Titles: Relationships between personal factors, self disclosure, social support, hope, perceived health status, and mental health of HIV/AIDS patients
Authors: บุษดี ศรีคำ, 2517-
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Penpaktr.U@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--สุขภาพจิต
โรคเอดส์--ผู้ป่วย--สุขภาพจิต
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การเปิดเผยตัวเอง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และสุขภาพจิตในองค์ประกอบด้านความผาสุกทางใจและด้านความทุกข์ทรมานทางจิตใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเปิดเผยตัวเอง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และสุขภาพจิตใน องค์ประกอบด้านความผาสุกทางใจและความทุกข์ทรมานทางจิตใจ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 130 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คุณสมบัติ จากผู้มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันบำราศนราดูร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อวัดสุขภาพจิต แบบสอบถามการเปิดเผยตัวเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความหวัง และแบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ ซึ่งผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .94, .79, .91, .86 และ .72 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 57.7) มีการวินิจฉัยโรคเป็นผู้ป่วยเอดส์ (ร้อยละ 39.2) และมีอายุเฉลี่ย 34.51 ปี (S.D. =5.90) มีการเปิดเผยตัวเองระดับปานกลาง ([Mean] =2.21,S.D. = 0.24) การสนับสนุนทางสังคมระดับมาก ([Mean] =3.67 ,S.D. =0.58) มีความหวังระดับปานกลาง ([Mean] =3.14,S.D. = 0.46) และการรับรู้ภาวะสุขภาพค่อนข้างไม่ดี ([Mean] = 669.97,S.D. =132.31) มีสุขภาพจิตโดยรวมระดับค่อนข้างดี ([Mean] =4.11,S.D. = 0.78) และเมื่อจำแนกองค์ประกอบรายด้านของสุขภาพจิต พบว่ามีความผาสุกทางใจระดับค่อนข้างดี ([Mean] = 3.95,S.D. = 0.90) และความทุกข์ทรมานทางจิตใจระดับปานกลาง([Mean] = 2.82, S.D.= 0.78) 2. การเปิดเผยตัวเอง การสนับสนุนทางสังคม ความหวัง และการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับสุขภาพจิตในองค์ประกอบด้านความผาสุกทางใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .236, .431, .539 และ .540 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาพจิตในองค์ประกอบด้านความทุกข์ทรมานทางจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.214, -.398, -.561, และ -.431 ตามลำดับ) เพศมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตในองค์ประกอบด้านความทุกข์ทรมานทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (C= .262) โดยเพศหญิงมีความทุกข์ทรมานทางจิตใจสูงกว่า ส่วนอายุพบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาพจิตในองค์ประกอบด้านความทุกข์ทรมาณทางจิตใจ ที่ระดับ .05 (r= -.199)
Other Abstract: The purpose of this descriptive research were to study: 1) personal factors, self disclosure, social support, perceived health status and mental health in psychological well-being component, and psychological distress component of HIV/AIDS patients 2) the relationships between personal factors, self disclosure, social support, perceived health status and mental health in psychological well-being component, and psychological distress component of HIV/AIDS patients. The sample were 130 HIV/AIDS patients selected by purposive sampling method from out patient department of Bamrasnaradura Institute. The research instrument were questionnaires namely mental health, self disclosure, social support, hope and perceived health status. All questionnaires were tested for content validity and reliability. The Cronbach's Alpha coefficient reliability were .94, .79, .91, .86, and .72, respectively. Statistical techniques utilized in data analysis were Percentage, Mean, Mode, Median, Standard deviation, Chi square, Contingency coefficient, and Pearson product moment correlation. Major results of this study were as follows: 1. HIV/AIDS patients were mostly male (57.7%) and diagnosed with AIDS (39.2%). They had mean age of 34.51 years. They had scores on self disclosure in the moderate level ([Mean] = 2.21 ,S.D. = 0.24), social support in the high level ([Mean] = 3.67, S.D. = 0.58), hope in the moderate level ([Mean] = 3.14, S.D. = 0.46), and perceived health status in the rather poor level ([Mean] = 669.97, S.D.= 132.31). The scores of mental health and psychological well-being component were in rather good level ([Mean] = 4.11, S.D. = 0.78; = 3.95, S.D. = 0.90 respectively), where as the score on psychological distress component were in moderate level ([Mean] = 2.82, S.D. = 0.78). 2. Self disclosure, social support, hope, and perceived health status were positive significantly related to mental health in psychological well-being component of HIV/AIDS patients (r= .236, .431, .539 and .540, p=.05, respectively) and were negative significantly related to psychological distress component (r = -.214, -.398, -.516 and -.431, p=.05, respectively). Sex was significantly related to mental health in psychological distress component of HIV/AIDS patients (p.05, C=.262 respectively) by which female had higher scores. In addition, age was negative significantly related to mental health in psychological distress component (r = -.190, p=.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1907
ISBN: 9741736282
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussadee.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.