Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19219
Title: การคัดกรองไกลดิงแบคทีเรียที่ผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
Other Titles: Screening of bioactive compound-producing gliding bacteria
Authors: ปิยรัตน์ หมื่นศรีชัย
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
วัลลภา อรุณไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Charnwit@sc.chula.ac.th
vullapa@tistr.or.th
Subjects: สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
แบคทีเรีย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้สามารถแยกไกลดิงแบคทีเรียได้ทั้งหมด 52 สายพันธุ์ จากตัวอย่างดิน น้ำ ซากพืช วัตถุในทะเล และมูลสัตว์จำนวน 80 ตัวอย่าง ที่สุ่มเก็บจาก 17 จังหวัดในประเทศไทย การทดสอบเบื้องต้นในการสร้างสารปฏิชีวนะ พบว่าไกลดิงแบคทีเรียสายพันธุ์ RD4 เป็นสายพันธุ์เดียวที่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบได้ทุกชนิด ได้แก่ Bacillus subtilis Staphylococcus aureus Escherichia coli Enterococcus faecium Candida albicans และ Fusarium oxysporum เมื่อนำไกลดิงแบคทีเรียสายพันธุ์ RD4 ผลิตสารปฏิชีวนะโดยเลี้ยงในอาหารเหลว Casitone Yeast Extract Broth พบว่าสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบส่วนใหญ่อยู่ในน้ำหมักชั้นไดคลอโรมีเทน เมื่อนำสารสกัดมาทำให้บริสุทธิ์เบื้องต้นโดยวิธี Preparative Thin Layer Chromatography พบว่าได้สารสกัดหลัก 3 ชนิด ได้แก่ สาร A B และ C สาร C มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์มากที่สุดโดยยับยั้งแบคทีเรียทดสอบแกรมบวกที่ให้บริเวณยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกกว้างที่สุดและมีค่าการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลตสูงสุดที่ความยาวคลื่น 273 นาโนเมตร ซึ่งตรงกับสาร saramycetin ที่เคยพบใน Streptomyces sp. ที่สามารถยับยั้งราได้ เมื่อนำมาทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography จะแยกสารได้ทั้งหมด 12 ส่วน ซึ่งพบว่าสารส่วนที่ 1 2 4 5 6 และ 7 (F1 F2 F4 F5 F6 และ F7) สามารถยับยั้ง B. subtilis และสารส่วนที่ 1 2 5 และ 6 (F1 F2 F5 และ F6) มีฤทธิ์ยับยั้ง S. aureus จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ลำดับเบสของยีนที่ประมวลรหัส 16S rRNA ไกลดิงแบคทีเรียสายพันธุ์ RD4 จัดจำแนกอยู่ในสกุล Corallococcus
Other Abstract: In the present study, 52 strains of gliding bacteria were isolated from 80 samples that collected from 17 provinces of Thailand. In bioactive compound testing experiment, only RD4 strain inhibited all tested microorganisms including Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Enterococcus faecium, Candida albicans, and Fusarium oxysporum. After culturing RD4 in CYEB medium for 7 days, the cultured broth was extracted by using acetone and then dichloromethane. By using PTLC, three major compounds, A, B, and C, were obtained from DCM fraction. Compound C showed the highest microbial inhibition activity, but only Gram’s positive bacteria were inhibited. The maximum absorbance from UV-VIS spectrophotometer of compound C was 273 nm, the same wavelength as saramycetin, an antifungal, from Streptomyces sp. After compound C was purified by using HPLC, 12 fractions were obtained. It was founded that fractions number 1, 2, 4, 5, 6, and 7 (F1, F2, F4, F5, F6, and F7) inhibited B. subtilis, while fractions number 1, 2, 5, and 6 (F1, F2, F5, and F6) inhibited S. aureus. From morphological characteristics and 16S rRNA sequence analysis studies, the strain RD4 belonged to the genus Corallococcus.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19219
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.82
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.82
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_mu.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.