Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1926
Title: ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะต่อความเจ็บปวดของการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรก
Other Titles: The effect of childbirth preparation with labor coaching programon labor pain of primigravidas during active-phase
Authors: พิณวดี พานทอง, 2503-
Advisors: ชมพูนุช โสจารีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chompunut.S@Chula.ac.th
Subjects: การคลอด
ความเจ็บปวด
การเตรียมตัวเพื่อการคลอด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดของการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วระหว่างหญิงครรภ์แรกที่ได้รับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะกับหญิงครรภ์แรกที่ได้รับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์/คลอดที่โรงพยาบาลปากพนังและผู้สนับสนุนแบบสอนแนะ จำนวน 40 คู่ ทำการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีความสมัครใจเข้าร่วมวิจัยและสุ่มแบ่งกลุ่ม (Random assignment) เป็นกลุ่มทดลอง 20 คู่ กลุ่มควบคุม 20 คู่ และทำการจับคู่กลุ่มอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนและคู่มือการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ มาตรสีวัดความเจ็บปวดของพรนิรันดร์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง เมื่อเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็วและเมื่อสิ้นสุดระยะปากมดลูกเปิดเร็ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบหาค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความเจ็บปวดเมื่อเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็วและเมื่อสิ้นสุดระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรกกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมตัวเพื่อการคลอดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (t-3.09, p<.01) และ t-3.24, p<.01 ตามลำดับ) ผลจากการวิจัย แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนการคลอดแบบสอนแนะนำให้ความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของปญิงตั้งครรภ์ลดลง และเสนอให้เห็นแนวทางการนำไปใช้ในการปฎิติการพยาบาล และการวิจัย
Other Abstract: The purpose of this quasi experimental research research was to compare labor pain during active phase of between primigravidas who received Childbirth Preparation with Labor Coaching Program (CPLC Program) and those who received conventional childbirth preparation. Study sample was sorty pairs forty pairs of primigravidas and their labor coaches. The samples was obtained from primigravidas who attended prenatal clinic and delivered at Pakpanang Hospital. Twenty subjects each were randomly assigned to either experimental of control group. Additionally, subjects, age range was matched between the two groups. Research instruments included 1) CPLC Program lesson plan and handbook and 2) Pain scale developed by Proniran Udomthavornsak. Data collection was done twice at the beginning and at the end of active phase of labor. Using independent -t-test, research fingings were as floow: Labor paing in the beginning andthe end of active phase were significantly lower in primigravidas who received CPLC Program Programthe those who received conventional childbirth preparation (t-3.09, p<.01, respectively). Findings suggest the need for nurses to implement DPLC Program in order to reduce labor pain during avtive phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1926
ISBN: 9745319449
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phinwadee.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.