Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19272
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
Other Titles: Selected factors related to sleep quality in older persons with Alzheimer's disease
Authors: อรษา มณีธนู
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรคอัลไซเมอร์
การนอนหลับ
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา ปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ โรคประจำตัว และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ประเภทของยาที่ได้รับ กิจกรรมทางสังคม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ และผู้ดูแลหลักในครอบครัว จำนวน 120 คู่ ที่มารับการรักษาในคลินิกความจำ คลินิกจิตเวช หรือคลินิกผู้สูงอายุ ซึ่งได้ มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ แบบสอบถามกิจกรรมทางสังคม แบบสอบถามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ โดยแบบประเมินปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ แบบสอบถามกิจกรรมทางสังคม แบบสอบถามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .80, .82, .74 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 67.50 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ( = 7.43, SD= 3.40) 2. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา (r = –.305) ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ (r = .382) และโรคประจำตัว (c = .357) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ประเภทของยาที่ได้รับ (c = .281, .362) กิจกรรมทางสังคม (r = – .387) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (r = .521) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this descriptive research were to study the sleep quality in older persons with Alzheimer’s disease and to study the relationships between sleep quality and intrinsic factors; cognitive deficits, medical conditions, behavioral and psychological symptoms of dementia, and extrinsic factors; medication, psychosocial activity, environmental factors and sleep quality in old persons with Alzheimer’s disease. Participants were 120 paired of family caregivers and older persons with Alzheimer’s disease from Memory and Psychiatric and Geriatric clinic, and were selected using multi-stage random sampling technique. Research instrument were demographic questionnaires, Mini-Mental State Examination-Thai version (MMSE-T), Behavioral Pathology in Alzheimer’s disease Rating Scale (Behave-AD), social activity, environment factor, and the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) which were tested for content validity and reliability. The reliabilities of Behave-AD, social activity, environment factor, and PSQI were .80, .82, .74 and .80 respectively. Data were analyzed including Chi-square test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Major findings were as follow: 1. 67.50 % of older persons with Alzheimer’s disease had poor sleep quality ( = 7.43, SD = 3.4). 2. Intrinsic factors were cognitive deficits (r = –.305), behavioral and psychological symptoms of dementia (r = .382) and medical conditions (c =.357) had significantly correlated with sleep quality in older persons with Alzheimer’s disease at the level of .05 3. Extrinsic factors were medication (c =.281, .362), psychosocial activity (r = –.387), and environmental factors (r = .521) had significantly correlated with sleep quality in older persons with Alzheimer’s disease at the level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19272
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1784
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1784
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orasa_ma.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.