Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19359
Title: | การศึกษาการส่งเสริมความสามารถการวาดภาพระบายสีของเด็กอายุ 9-11 ปีที่มีความสามารถพิเศษทางด้านทัศนศิลป์ |
Other Titles: | A study of enhancing drawing and painting abilities of visual art talented children aged 9-11 years old |
Authors: | พาสนา แดงจันทร์ |
Advisors: | ขนบพร วัฒนสุขชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Khanobbhorn.W@Chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทัศนศิลป์ จิตรกรรม |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการส่งเสริมความสามารถการวาดภาพระบายสีของเด็กอายุ 9-11 ปีที่มีความสามารถพิเศษทางด้านทัศนศิลป์ 3 ด้าน คือ 1)ด้านความสนใจความถนัด 2)การเรียนการสอน 3)สภาพแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ เด็กอายุ 9-11 ปี ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านทัศนศิลป์ จำนวน 30 คน และ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองจำนวน 29 คน และครูศิลปศึกษาจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และ แบบสังเกตสำหรับเด็กนักเรียน โดยใช้ค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนแบบสอบถามครูศิลปศึกษาและผู้ปกครอง ใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมความสามารถการวาดภาพระบายสีของเด็กอายุ 9-11 ปีที่มีความสามารถพิเศษทางด้านทัศนศิลป์ ทั้ง 3 ด้าน มีดังนี้ 1. ด้านความสนใจความถนัด จากการสัมภาษณ์ เด็กนักเรียนพบว่า ส่วนมากมีความชอบ ความสนใจ ในศิลปะเป็นพื้นฐาน มีความตั้งใจในการทำงานศิลปะ ขยันฝึกซ้อม รู้จักสังเกต และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการดูภาพหนังสือ นิตยสาร ภาพผลงานใน สูจิบัตร หรือรูปภาพทางศิลปะจากแหล่งความรู้อื่นๆ 2. ด้านการเรียนการสอน จากการสัมภาษณ์เด็กนักเรียน พบว่า ครูศิลปศึกษาส่วนใหญ่มีการสอนศิลปะเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน และจัดหาหนังสือหรือสิ่งต่างๆที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน มีการวิจารณ์งาน ติชม ให้ข้อเสนอแนะ และเป็นที่ปรึกษาให้นักเรียนทั้งในและนอกชั้นเรียน ช่วยเหลือดูแลในการปฏิบัติงานศิลปะ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ มีวัสดุอุปกรณ์ สื่อ สถานที่พร้อมในการเรียน การสอน นำนักเรียนไปร่วมปฏิบัติกิจกรรมพิเศษทางศิลปะที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้น พานักเรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ทางศิลปะ และนำผลงานศิลปะของนักเรียน ไปจัดแสดง จากแบบสอบถามครูศิลปศึกษาพบว่ามีการส่งเสริมการเรียนศิลปะของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับของการปฏิบัติมากที่สุดทุกข้อ โดยครูให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการปฏิบัติงานศิลปะทั้งในและนอกชั้นเรียนอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ด้านกิจกรรม พบว่า มีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมศิลปะนอกเวลา ในระดับการปฏิบัติมาก โดยมีการจัดโครงการพิเศษเพื่อการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะเพื่อส่งเสริม สนับสนุนความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ และ นำนักเรียนไปร่วมปฏิบัติกิจกรรมพิเศษทางศิลปะที่องค์กรเอกชนและหน่วยงานต่างๆจัดขึ้นอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด 3. ด้านสภาพแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ 3.1) ด้านสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวจากการสัมภาษณ์เด็กนักเรียนพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้การช่วยเหลือ ดูแลการทำงานศิลปะของนักเรียนโดยการซื้ออุปกรณ์ ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการทำงานศิลปะ ชมเชย และให้กำลังใจ สนใจและรับฟังความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ พาไปชมแหล่งความรู้ทางศิลปะ จัดหาหนังสือหรือสิ่งต่างๆที่ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน จัดพื้นที่ทำงาน รวมทั้งนำผลงานศิลปะของนักเรียนตกแต่งบ้าน จากแบบสอบถามผู้ปกครอง พบว่า มีการส่งเสริมการเรียนศิลปะของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก โดยข้อที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ ชมเชยและให้กำลังใจในการทำงานศิลปะกับบุตรหลานของตนเองเสมอ สำหรับ สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวข้อที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ปฏิบัติมากที่สุด คือ สมาชิกในครอบครัวให้การยอมรับในความสามารถทางศิลปะของนักเรียนและ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน 3.2) ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน จากการสัมภาษณ์ เด็กนักเรียนพบว่า นักเรียนมีกลุ่มเพื่อนที่ชอบศิลปะเหมือนกับนักเรียน และมีการคุยแลกเปลี่ยนปรึกษากันเรื่องการทำงานศิลปะอยู่เสมอ จากแบบสอบถามครูศิลปศึกษาพบว่า ภายในห้องเรียนและภายในโรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนศิลปะของนักเรียนอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก ภายในห้องเรียนสิ่งที่ครูส่วนใหญ่ปฏิบัติมากที่สุด คือ การสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยการกระตุ้นและส่งเสริมการทำงานศิลปะของนักเรียน ทางด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน พบว่า สิ่งที่ครูส่วนใหญ่ปฏิบัติมากที่สุด คือ การนำผลงานศิลปะของนักเรียนมาแสดงที่บอร์ดหรือห้องแสดงผลงาน |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study of factors of enhancing drawing and painting abilities of visual art talented children aged 9-11 years old into 3 categories 1) Interest and skill 2) Learning and teaching 3) Environment. The research sample of this study were 30 of children aged between 9-11 years old who has visual art talented, group of 29 of parents, and 14 of art teachers. The compose of using equipment in this research study were interview form, observation form and questionnaire Collecting data by using the frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation of statistic analysis. The research findings were found that the factors that can support painting ability age between 9-11 years old were: 1. Interest and skill: The result in this category show that most of children are interested in art as a basic nature and tend to be pay attention in practicing art skill and find out more knowledge from various sources such as book, magazine, art program and art gallery. 2. Learning and teaching: The result from interview children show that most of art teachers always teach student to do art practice after the class, provide books and various type of media that can encourage inspiration and creative thinking, give advice and comment in art work both inside and outside the class. In addition, art teachers always provide equipment and place for students to do art work with freedom and bring students to attend special events and art activities that organized by many institutes. They also bring students’ art work to public through exhibition. From the answer of art teachers in questionnaire found that teachers always support students by giving advice in art work, helping students when doing art work both inside and outside the class, From over all factors, the article that art teachers always do the most is organize a special project to choose the visual art talented students to promote the abilities to public and bring students to attend special events and art activity that organized by private companies and government. 3. Environment: 1) Environment in family, from the answer of children after interview show that parents always encourage students to do art practice by providing equipment and book that inspire children, giving advice and listening to children’s opinion, moreover parents usually take their children to the source of art or exhibition and bring their children art work to decorate the house. From the answer of parents in questionnaire show that parents always giving compliment in their children’s art work, but the most thing that they always do to make the positive environment in family is recognize children visual art talent and keep up the good interaction with children. 2) Environment in classroom, The result after interview students expose that students have group of friends who are interested in art the same as them and they usually exchange their opinions about art work. From the answer of art teachers in questionnaire show that during a class, the most thing that art teacher usually do to stimulate and encourage students to practice art work is building the positive environment. In addition, teachers always display students’ art works at the boards , wall and art gallery in order to build a positive environment within school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19359 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pasana_da.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.