Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19378
Title: | ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด |
Other Titles: | The Effect of coaching on practice for basic cardiopulmonary life support in mothers of congenital heart disease children |
Authors: | สุพีระพรรณ ธูปมงคล |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noraluk.U@Chula.ac.th |
Subjects: | โรคหัวใจในเด็ก โรคหัวใจแต่กำเนิด หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะ กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยนอก ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คนโดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายกันโดยการจับคู่ด้าน อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการสอนแนะของ Gracy (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน พัฒนาจากแบบประเมินของ American Heart Association (2006) ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราคของแบบประเมินทักษะได้ค่าเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. มารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองดีกว่ามารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19378 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1788 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1788 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supeeraphan_tu.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.