Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19394
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วาสินี วิเศษฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | ธัชมน วรรณพิณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-02T14:07:39Z | - |
dc.date.available | 2012-05-02T14:07:39Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19394 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย มีสถานภาพเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐแห่งหนึ่งเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับ รางวัลพยาบาลดีเด่น หรือ ได้รับการยอมรับจากหัวหน้า และ เพื่อนร่วมงานว่าเป็นผู้ที่มีความสุขในการทำงาน มีความยิ้มแย้มแจ่มใส กระตือรือร้นในการทำงาน ตลอดจนมีความยินดีที่จะเข้าร่วมการเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และจากการบอกต่อแบบลูกโซ่ จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกเสียงสนทนา นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวิธีการของ Van Manen (1990)ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพให้ความหมายของความสุขในการทำงานที่รับรู้และตีความตาม ความคิดและประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนได้ว่า เป็นความรู้สึกอิ่มเอมใจ ภาคภูมิใจในการทำงานพยาบาล ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความรู้ความสามารถ สั่งสมประสบการณ์พัฒนาจนเกิดทักษะเฉพาะตน เป็นการทำงานที่ ต้องมีความอดทน เสียสละ มีความรับผิดชอบสูง และ เป็นการทำงานที่มีคุณค่า ทั้งต่อตนเอง และต่อชีวิต มนุษย์ทุกช่วงวัยที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ความไม่สุขสบายจากโรคภัยทั้งที่รักษาหายและไม่หาย ให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาดูแลตนเองได้หรือจนกระทั่งระยะสุดท้ายของชีวิต ด้วยความใส่ใจ เข้าใจ ให้กำลังใจ และ ตั้งใจที่จะดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณเท่าที่ตนเอง มีความรู้ความสามารถ ส่วนประสบการณ์ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ พบ 6 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ใจที่เบิกบานจาก การดูแลคนไข้ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ 2) ปรับตัวกับงานได้เมื่อไหร่ ...ช่วยให้แต่ละวัน เวลาได้ทั้งงาน และความสุข 3) สุขกาย สบายใจเมื่อได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย 4) สุขที่เพิ่มขึ้นจาก การมีอิสระในงานที่ทำ 5) ความรู้สึกดีจากการที่ผู้ร่วมงานและคนไข้ยอมรับ และ6) สุขที่ได้พัฒนาตน พัฒนางานด้วยการได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ ผู้บริหารทางการพยาบาลนำไปปรับปรุงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรพยาบาล เพื่อให้ พยาบาลวิชาชีพทำงานได้อย่างมีความสุข | en |
dc.description.abstractalternative | This research aimed at exploring the happiness at work of nurses in an autonomous university hospital. The method of this study was the interpretative phenomenological approach. The participants included 12 nursing university officers who were selected by using purposive sampling and snowball sampling techniques. These were individuals who indicated willingness to participate in an interview and who had identified themselves or were recommended by the head nurse or colleagues as someone who experienced joy from their work. Data were collected through in-depth interviews. The interviews were tape-recorded and transcribed verbatim as well as analyzed by using the content analysis method of Van Manen (1990)The results of the research revealed two themes consisting of meaning of happiness at work and the working experiences of nursing university staffs. The meaning of happiness at work was identified through self-construals taking into account experience and a sense of work satisfaction, pleasant working environment and pride coming from work challenges. To develop working experience into professional skill requires patience, sacrifice and responsibility. Moreover, work value has been directly linked to one’s own benefit and the benefit of patients of all ages who suffer from both treatable and untreatable diseases. For those who will not recover, nurses must be attentive, understanding and rely on their training to provide humanized health care that addresses body, mind and spirit. Six subthemes of the experiences of nursing work life resulting in a sense of happiness emerged from the study. They were: taking care of patients, adjusting to the work environment, having a safe and warm working atmosphere, working independently, receiving recognition from both patients and co-workers, and professional development.The findings reflect the levels of happiness of nursing university officers who experience joy through their work with implications for nursing administration to enhance nurses’ working environment. | en |
dc.format.extent | 2221029 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1789 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความสุขในการทำงาน | en |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | en |
dc.subject | พยาบาล -- ความสุขในการทำงาน | en |
dc.title | ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐ | en |
dc.title.alternative | Happiness at work of registered nurses, nursing staffs, an autonomous university hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wasinee.W@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1789 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thachamon_wa.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.