Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19408
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ใจทิพย์ ณ สงขลา | - |
dc.contributor.advisor | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | - |
dc.contributor.author | ฐิติยา เนตรวงษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-02T15:14:53Z | - |
dc.date.available | 2012-05-02T15:14:53Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19408 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1)สร้างรูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2)ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3)นำเสนอรูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 67 คน เป็นนักศึกษาปกติ 60 คน และเป็นนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ 7 คน ระยะเวลาในการทดลอง 11 สัปดาห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1)การจัดการเรียนร่วม 2)เทคโนโลยี 3)ชุมชน 4)การดำเนินกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ 5)เครือข่ายชุมชน สำหรับขั้นตอนการเรียนร่วมมี 3 ขั้นตอนคือ 1)เตรียมการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ 2)ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ เตรียมการเรียนรู้ ให้พื้นฐานความรู้กิจกรรมกลุ่ม ทบทวนความรู้กิจกรรมกลุ่มการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ และประยุกต์ใช้ความรู้ และ 3)ประเมินผล 2.นักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่เรียนตามรูปแบบการเรียนร่วมที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และนักศึกษามีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนร่วมโดยเห็นด้วยในระดับมาก 3.ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำการประเมินรับรองรูปแบบการเรียนร่วมฯมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนร่วมที่พัฒนาขึ้นโดยเห็นด้วยมากที่สุด | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to develop a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in Information Technology for undergraduate student. The research process was divided into three phases: 1)construct a prototype of a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in Information Technology 2)study the effects of using a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in Information Technology 3)propose a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in Information Technology. The sample group in this study consisted of 67 undergraduate students at Home Economics Curriculum, Suan Dusit Rajabhat University. Their were 60 normal students and 7 special need students. Students studied via the mainstreaming model using for 11 weeks. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test Dependent and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results of this research were as follows: 1.The mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in Information Technology consisted of 5 components as followed: 1)mainstreaming management 2)technology 3)community 4)activity of online learning community and 5)community network. The model included 3 phases: 1)providing mainstreaming to develop online learning community 2)processing the learning activities that divided 4 process: provided learning, offered knowledge and group activity, reviewed knowledge and group mainstreaming activity to develop online learning community and knowledge application, and 3)the learner evaluate 2.The undergraduate students post-test scores for characteristic of online learning community and learning achievement were significantly higher than pre-test scores at .05 significant level. The correlation between characteristic of online learning community and learning achievement were rather high level. The students agree that the mainstreaming model was appropriate in a high level. 3.The experts were 5 person agree that the mainstreaming model was appropriate in an excellent level. | en |
dc.format.extent | 5354360 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2251 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ | - |
dc.subject | การเรียนการสอนผ่านเว็บ | - |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต | en |
dc.title.alternative | Development of a mainstreaming model to develop online learning community and learning achievement in information technology for unidergraduate students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jaitip.N@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Praweenya.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.2251 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Titiya_ne.pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.