Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร-
dc.contributor.authorต้องตา ตันตรัตนพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-02T15:20:46Z-
dc.date.available2012-05-02T15:20:46Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19410-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractระบบประกันเงินฝากเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญของตาข่ายระวังภัยทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบสถาบันการเงิน และเสริมสร้างความมีเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การจัดตั้งระบบประกันเงินฝากจะสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางการที่มีการกำหนดระบบโครงสร้างและขอบเขตการประกันเงินฝากที่เหมาะสม เช่น หากมีการกำหนดวงเงินที่จ่ายคืนอยู่ในระดับสูงก็อาจทำให้ผู้ฝากเงินขาดความระมัดระวังในการฝากเงิน ส่วนสถาบันการเงินก็มีความรู้สึกว่าตนไม่สามารถที่จะล้มได้ ทำให้เกิดพฤติกรรมชักนำความเสี่ยง (moral hazard) ความมีวินัยของตลาดการเงินจึงน้อยลง ระบบประกันเงินฝากจึงอาจสร้างแรงจูงใจให้เกิดผลที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้เช่นเดียวกัน หากระบบการเงินอ่อนแอขาดประสิทธิภาพ และมีการกำหนดโครงสร้างของระบบประกันเงินฝากที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่า ระบบประกันเงินฝากที่ดีจะต้องมีการกำหนดแนวทางที่ดีของระบบประกันเงินฝาก(Good practices for deposit insurance) เช่น มีการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ของระบบประกันเงินฝากอย่างชัดเจน ให้อำนาจกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน รวมถึงอำนาจในการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินต้องประสบปัญหาในขั้นรุนแรงจนต้องประสบความล้มเหลว การกำหนดของเขตการให้ความคุ้มครองที่เหมาะสม หน่วยงานประกันเงินฝากเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ มีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายและผู้กำกับ ตรวจสอบ และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากแห่งประเทศไทยที่ได้จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มีหน้าที่คุ้มครองเงินฝากของประชาชนในสถาบันการเงิน โดยจะจ่ายคืนแก่ผู้ฝากเงินตามจำนวนที่กำหนดให้ความคุ้มครอง ผู้ฝากเงินจึงต้องร่วมรับประกัน (Co-insurance) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วย ถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินแก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้อื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงสถาบันการเงินก็จะมีการดำเนินกิจการตามหลักบรรษัทภิบาล (Corporate governance) มากขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ปรากฏต่อผู้ฝากเงิน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของระบบสถาบันการเงิน นอกจากนี้ การที่กฎหมายเปิดช่องให้มีการกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนตามความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงิน (Risk-based premium system) ในอนาคตการให้อำนาจสถาบันคุ้มครองเงินฝากในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา รวมถึงเข้าควบคุมสถาบันการเงินที่มีปัญหา และการกำหนดมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินที่เหมาะสม ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบคุ้มครองเงินฝากมีประสิทธิภาพในการช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินen
dc.description.abstractalternativeA deposit insurance system is one significant part of the financial safety net. The principal objectives of deposit insurance system are to contribute to the stability of the financial institution system and to maintain public’s confidence. Whether deposit insurance system can accomplish depend on public policy objectives which design infrastructure and coverage property. However the deposit insurance system effects the moral hazard problem that may occurs, if the financial system is weak and the deposit insurance is not designed property. This research can indicate that the well deposit insurance must regard to good practices for deposit insurance that include defining the system explicitly in law and regulations, providing authority to monitor the condition of the banking industry and to resolution of insured financial institutions in order to prevent the default of financial institutions, to have the extent of the coverage fit and proper, independence of the deposit insurance system agency, to create relation with the lender of last resort and the supervisor and to encourage the corporate governance of the deposit insurance system. The deposit insurance agency founded by the deposit insurance act B.E. 2551 has function to protect the public’s deposit of insured financial institutions by repayment the limited coverage to depositor. Depositor must be co-insurance loss that may occur. This system is the significant mechanism to create the financial discipline both depositors, creditors and financial institutions. The financial institution will develop corporate governance in business in order to create public’s confidence and sustainable business. Moreover this act statute the deposit insurance agency can asses premium base on risk-based premium system, monitor the condition of the institutions and co-operation with the lender of last resort and the supervisor in resolution the insured financial institutions and protect depositor properly. As the mentioned above are factors to be measures on the financial institution system’s stability.en
dc.format.extent2407772 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1266-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประกันเงินฝาก -- กฎหมายแลระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectสถาบันการเงิน -- กฎหมายแลระเบียบข้อบังคับen
dc.titleมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551en
dc.title.alternativeMeasures on financial institution system's stability : a study on Deposit Insurance Act B.E.2551en
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSamrieng.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1266-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tongta_Ta.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.