Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19417
Title: การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในการรับมือฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์
Other Titles: Optimal monetary policy rule under inflation targeting in formation of asset price bubbles
Authors: กวินทร์ ภู่พกสกุล
Advisors: พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsak.L@Chula.ac.th
Subjects: เงินเฟ้อ
นโยบายการเงิน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของนโยบายการเงินเพื่อจัดการปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ที่มีลักษณะต่างๆกัน โดยจะแยกพิจารณาฟองสบู่ออกเป็น 3 ประเภท 1) ฟองสบู่ชนิดคาดการณ์สมบูรณ์ (Rational Bubble) 2) ฟองสบู่ชนิดที่เติบโตตามมูลค่าพื้นฐาน (Intrinsic Bubble) 3) ฟองสบู่ที่เติบโตจากภายนอก ในส่วนแรกจะนำเสนอทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของฟองสบู่ชนิดต่างๆ ข้อจำกัดในการเติบโต และวิธีหยุดยั้งการเติบโตของฟองสบู่ ส่วนถัดไปได้ทำการศึกษาผลกระทบของราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปต่อตัวแปรสำคัญในระบบเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญผ่านแบบจำลองกรอบนโยบายเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting Rule) ที่ได้ผนวกราคาสินทรัพย์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์จะทำให้ผลผลิตมวลรวมในประเทศสูงขึ้นผ่านความมั่งคั่ง (Wealth) ของประชาชน และจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาถัดไป จากการทำการประมาณโดยแบบจำลอง (Simulation) พบว่าผู้การใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อฟองสบู่จะมากน้อยเพียงใดอยู่กับลักษณะการก่อตัวของฟองสบู่รวมถึงแหล่งที่มาของปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อเศรษฐกิจ (Shock) ในกรณีที่ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเกิดจากราคาสินทรัพย์ (Asset price shock) พบว่าธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายตอบโต้ต่อฟองสบู่ชนิดคาดการณ์สมบูรณ์มากที่สุด แต่ถ้าผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเกิดจากด้านการบริโภคมวลรวม (Aggregate demand shock) พบว่าธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายตอบโต้ต่อฟองสบู่ชนิด Intrinsic Bubble มากที่สุด และเมื่อดูไปถึงขอบเขตของนโยบาย (Policy frontier) ฟองสบู่ชนิดคาดการณ์สมบูรณ์อาจจะสร้างความผันผวนต่อระบบเศรษฐกิจได้มากที่สุด เนื่องจากฟองสบู่สามารถคงอยู่ในระบบเศรษฐกิจนานกว่าฟองสบู่ชนิดอื่นๆ ดังนั้นผู้วางนโยบายจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของลักษณะของฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจเนื่องจากฟองสบู่ที่ต่างชนิดกันจะสร้างความแตกต่างในการดำเนินนโยบายตอบโต้ รวมถึงในแหล่งที่มาของผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ (Shock) ก็ยังสามารถสร้างความแตกต่างในการดำเนินนโยบายได้อีกทางหนึ่งด้วย
Other Abstract: This thesis offers a comparison study on monetary policy response to three kinds of bubble, namely rational bubble, intrinsic bubble and exogenous bubble. We first explain causes of an asset price bubble and the appropriate policy response. Then we discuss the impacts of the bubble under inflation targeting frameworks. We find that when the asset price increases, GDP will be raised via the wealth effect and this will cause inflation to rise in the next period. More importantly, we show that appropriate monetary policy needs to consider both types of asset bubble and sources of economic shocks. Our simulations indicate that if the source of shock comes from asset prices, the central banks need to adjust their interest rate more strongly under rational bubble. If, however, there is positive aggregate demand shock, more policy response is required under intrinsic bubble. In addition, our simulation of policy trade-off between inflation and output volatilities suggests that rational bubble can create more economic fluctuations. This is because of the persistent effects of the rational bubble. Therefore, it is important that policymakers should take into account of different kinds of asset bubble when conducting monetary policy response.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19417
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1195
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1195
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kawin.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.