Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19423
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุผานิต เกิดสมเกียรติ-
dc.contributor.authorอุมาพร ดะสูงเนิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-03T15:22:00Z-
dc.date.available2012-05-03T15:22:00Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19423-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractโดยที่กฎหมายอากาศระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลว่าด้วยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายของบุคคลที่สามที่มีอยู่เดิมคือ อนุสัญญาโรม ค.ศ. 1952 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความล้าสมัย จึงได้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายของบุคคลที่สามอันเป็นผลมาจากการกระทำการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอากาศยาน ค.ศ. 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นบุคคลที่สาม ซึ่งจัดให้มีกลไกการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างเป็นธรรม บนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นผู้ดำเนินการอากาศยานหรือรัฐ ในขณะเดียวกันอนุสัญญานี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการบิน ที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันบนพื้นฐานของหลักการบริหารความเสี่ยงและการแบ่งสรรภาระ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหา ลักษณะ และรูปแบบของระบบความรับผิด การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหาย อันเป็นผลมาจากการกระทำการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอากาศยาน ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และตามหลักกฎหมายไทย รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ข้อดี ข้อท้าทายของการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ จากผลการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งในด้านกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ และผลกระทบด้านอื่น ประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้ โดยต้องจัดให้มีและแก้ไขกฎหมายภายในให้รองรับพันธกรณีตามอนุสัญญาen
dc.description.abstractalternativeSince the existing private international air law on compensation for damage to third parties namely, Rome Convention 1952 and its amendment are out-of-date, Convention on Compensation for Damage to Third Parties, Resulting from Acts of Unlawful Interference Involving Aircraft 2009 has been made with an objective to assure protection of the victim who is third party by establishing the mechanism to make equitable compensation. This mechanism is based on cooperation among those interested, including aircraft operators or State. Also, the Convention has a purpose to protect aviation industry affected by the acts of unlawful interference in order to accommodate to current situations and circumstances by relying on the principle of risk management and burden- sharing. This thesis focuses on problems, characteristics and norms of liability system, compensation for damages caused by the acts of unlawful interference involving aircraft according to international law and domestic law regimes. Furthermore, it includes the analysis of suitability, strengths and challenges of Thailand’s becoming the Convention’s party.The research has found that if Thailand becomes a party to the Convention, there are many implications for Thailand in terms of the substantive law and the adjective law, together with other sectors. Thailand should be the party to the Convention through promulgating and amending domestic laws to serve the obligations of the Convention.en
dc.format.extent4151721 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1792-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectค่าสินไหมทดแทนen
dc.subjectการบิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectIndemnityen
dc.subjectAeronautics -- Law and legislationen
dc.titleอนุสัญญาว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของบุคคลที่สาม อันเป็นผลมาจากการกระทำการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอากาศยาน : ผลกระทบต่อประเทศไทยen
dc.title.alternativeConvention on compensation for damage to third parties, resulting from acts of unlawful interference involving aircraft : implications for Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuphanit.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1792-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Umaporn_da.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.