Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพย์สุดา ปทุมานนท์-
dc.contributor.advisorปิ่นรัชฎ์ กาจนัษฐิติ-
dc.contributor.authorอุสมาน เจะซู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialปัตตานี-
dc.date.accessioned2012-05-03T15:35:17Z-
dc.date.available2012-05-03T15:35:17Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19426-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractแบบแผนการใช้สอยที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายูและกรณีศึกษา ที่นำไปสู่ความหมายของการอาศัยอยู่อย่างเข้มข้นและแนบแน่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า สามารถเอื้อให้การอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ภายใต้ปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าที่โอบล้อมปริมณฑลแห่งที่ว่างต่างๆ นั้นจนเกิดเป็นคุณค่าที่มาจากการใช้ชีวิตและอาศัยอยู่ในที่ว่างของเรือน ของชุมชนอย่างสันติสุข สงบ เรียบง่าย มีสังคมที่มีระบบปฏิสันถารอันดีงามและเอื้ออำนวยให้เกิดกายภาพของการอาศัยอยู่ที่มีคุณค่าและความยั่งยืนที่โน้มนำทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเฉพาะถิ่นขึ้น การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบแผนการใช้สอยที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายู กรณีศึกษาบ้านตันหยงลูโละ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการศึกษากรณีศึกษาแบบเบื้องลึก ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารร่วมกับการวิจัยในภาคสนาม โดยอาศัยแนวคิดทางด้านจิตวิทยาสถาปัตยกรรมและปรากฏการณ์ศาสตร์เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ด้วยวิธีการแยกแยะประเด็นเพื่อหาเนื้อหาที่มีความหมายสำคัญ และเปิดประเด็นแห่งเนื้อหาสาระที่จะค่อยๆ ถูกเปิดเผยออกมาด้วยวิธีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือปรากฏการณ์เพื่อทำความเข้าใจถึงวิธีหรือกระบวนการการได้มาซึ่งข้อมูลในสิ่งที่ไม่ปรากฏในทางกายภาพให้ปรากฏกระจ่างชัดขึ้นมาได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตย กรรมที่มีชีวิตให้ดำรงอยู่คู่กับชุมชน โดยทำการศึกษาในภาคสนามช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 การวิจัยนี้เริ่มจากการทำความเข้าใจในบริบทแวดล้อมในด้านต่างๆ ของชุมชนรอบอ่าวปัตตานีและสำรวจพื้นที่เพื่อให้ได้หมู่บ้านกรณีศึกษาและทำการคัดเลือกเรือนที่จะเป็นตัวแทนการศึกษา ประกอบไปด้วย การตั้งถิ่นฐานและระบบปฏิสันถารของหมู่บ้านแบบมาตุลักษณ์ของกรณีศึกษา, การศึกษาที่ว่างและองค์ประกอบของที่ว่างของเรือนมลายูของกรณีศึกษา, การวิเคราะห์การใช้สอยที่ว่างในระบบเทศะและกาละปฏิสันถารของเรือนมลายูของกรณีศึกษา ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ 1 การวิเคราะห์แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายูของกรณีศึกษา อันประกอบไปด้วย แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบที่เป็นจุดเข้มแห่งชีวิต, แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบซ้อนทับซับซ้อน, แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบชั่วคราว, แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบที่มีประสบการณ์หลากสัมผัส, แบบแผนการใช้สอยที่ว่างแบบสานความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าย้ำสู่ชีวิตประจำวัน และข้อสรุปที่ 2 การวิเคราะห์การอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายูและกรณีศึกษา อันประกอบไปด้วย การอาศัยอยู่อย่างเข้มข้นและการอาศัยอยู่อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกับชีวิตกับโลกและกับพระเจ้า, การอาศัยอยู่ในวัฒนธรรมแห่งการใช้ที่ว่างขนาดเล็ก, การอาศัยอยู่แบบหมุนเวียนไปตามกาละและเทศกาลแห่งชีวิตต่างๆ, การอาศัยอยู่อย่างมีสุนทรียะสัมผัส, การอาศัยอยู่อย่างหลากมิติแห่งความหมายของที่ว่างของพื้น ฝา ฝ้าที่โตขึ้นและหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งนำไปสู่การสรุปรวบยอดของ คุณค่าของแบบแผนของการใช้สอยที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายู อันประกอบไปด้วย ความเป็นหนึ่งเดียวกันและความกลมกลืนกันของมนุษย์กับพระเจ้าของมนุษย์กับโลก และของมนุษย์กับมนุษย์ในการใช้ที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายู, การใช้ที่ว่างและการอาศัยอยู่ที่ทำให้ชีวิตมีความสำรวมอยู่ในโลกอย่างตระหนักรู้และประณีตละเอียดลออ , การประดิษฐานถิ่นแห่งชีวิตเฉพาะตัวขึ้นเกิดเป็นอัตลักษณ์พิเศษเฉพาะของการใช้ที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบนี้, การเปล่งประกายพลังแห่งรูป, และความยั่งยืน ท้ายสุดกระบวนการการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางการทำความเข้าใจชุมชนทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์วิถีชีวิตที่มีคุณค่า มีความสุข มีความสงบสันติ พอเพียงและดำรงชีวิตอยู่ในคุณธรรมคุณงามความดี อันมีที่มาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดีษ ที่เป็นความศรัทธาสูงสุดของชาวมุสลิม อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างในวิถีทางของการอาศัยอยู่อย่างยั่งยืนสืบไปen
dc.description.abstractalternativeThe matriarchal proxemic and space utilization in Melayu houses brings about a special bond between the space and its inhabitants, as well as close relationships between humans, humans and nature, and humans and God. Such relationships are believed to exist in a holy place ruled by God. The belief that God governs the places where Muslims live, therefore, leads them to live simple and peaceful lives. In addition, it is the inhabitants’ way of life that determines the physical conditions of the houses, and this phenomenon gradually formulates an identity for the community. This study examined the proxemic and dwelling patterns of matriarchal space in Melayu houses in Tanyonglooloh village, Muang district, Pattani. In-depth qualitative research was conducted using document analysis together with field studies. The theories of architectural psychology and phenomenology were applied to interpret the data. These data, which consisted mostly of events and phenomena, were analyzed, organized, and categorized into groups of different issues. These procedures allowed significant issues, especially the intangible ones, to emerge and become clearer. The purpose of this study was to collect data that could be used to guide architectural heritage conservation. The data was collected during field studies between September 2009 and September 2010. The initial stage of the study was to understand some of the contexts of communities around Pattani Bay. Next, a case selection was conducted by surveying the area to find an appropriate village and houses. The survey focused on the proxemic and matriarchal space utilization in the case study houses in the village, the inhabitants’ relationship to space and elements of space in Melayu houses, and an analysis of space utilization for different occasions. After the data had been collected, the data processing for the case study was divided into two main parts. The first part involved an analysis of specific spaces in Melayu houses that are used frequently for the same daily activities, the multifunctional use of a single space for different activities, the occasional use of a space, the use of space in which physical elements offer the user more than a visual sensation, and the use of space for daily religious rituals that knit faith in God to life. The second part is an analysis of matriarchal living patterns in Melayu houses. The issues examined in this part include bonds between the inhabitants and space, and between the world and God; the culture of small living spaces; living in accordance with the requirements for special occasions and festivals; living in a multi-sensory space; and living in a space in which the significance of the floor, walls, and ceiling grows beyond their actual functions and values. In sum, space utilization and the inhabitants’ living patterns, determined during the case study, signify the values of matriarchal proxemic and living patterns in Melayu houses. Harmony between humans, their world, and their God expressed through the way they use space and how they live in it; a calm, righteous life influenced by the dominance of religion in almost every aspect of life; multifunctional use of items in Melayu houses; a peaceful, composed life influenced by their religion; a unique settlement which developed a special identity due to space utilization and living patterns; a sense of multifunctional usage of physical elements in the house; and a sustainable lifestyle, are all values that are acquired from the matriarchal proxemic and dwelling patterns evident in the case study houses. Finally, it is hoped that this study would help generate a better understanding of cultural communities, so that they can become the model for sustainable living. Hopefully, this study will lead to the preservation of a righteous way of life which holds the principles of simplicity, morality, and piety rooted in the Al-Quran and Al-Hadith, which are the central, most revered religious texts for all Muslims.en
dc.format.extent14606238 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1748-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่ว่าง (สถาปัตยกรรม)en
dc.subjectหมู่บ้านตันหยงลูโละ -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.titleแบบแผนการใช้สอยที่ว่างและการอาศัยอยู่แบบมาตุลักษณ์ของเรือนมลายู: กรณีศึกษาหมู่บ้านตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีen
dc.title.alternativeThe proxemic and dwelling of matriarchal space of Melayu places : a case study of Tanyonglooloh village in Pattani provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTipsuda.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPinraj.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1748-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ussamarn_je.pdf14.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.