Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1942
Title: ผลของการปฎิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The effect of nursing interventions on health outcomes of patients with heart disease : a meta-analysis
Authors: สินีนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, 2512-
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: หัวใจ--โรค--การพยาบาล
หัวใจ--โรค--ผู้ป่วย
การวิเคราะห์อภิมาน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยโรคหัวใจ ศึกษาเปรียบเทียบผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพด้านร่างกาย ด้านอาการ ด้านจิตใจ และผลลัพธ์ด้านสุขภาพด้านอื่นๆ และศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล ของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2526-2547 จำนวน 37 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุป คุณลักษณะงานวิจัยด้านข้อมูลพื้นฐาน และด้านระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกัน (interrater agreement) ระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ .86 ตามลำดับ นำไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 82 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (89.20%) จากมหาวิทยาลัยมหิดล (32.40%) ในสาขาพยาบาลศาสตร์ (89.20%) ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2545 (48.70%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงและความเที่ยง (64.90%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (54.10%) ปฏิบัติการพยาบาลที่นำมาใช้ศึกษามากที่สุดคือ การปฏิบัติการพยาบาลด้านการรู้และความคิด (45.90%) โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการสอนการให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ ส่วนการปฏิบัติการพยาบาลด้านการเคลื่อนไหวนำมาศึกษาน้อยที่สุด (2.70%) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ ด้านจิตใจ (38.33%) โดยศึกษาในเรื่องของภาวะเครียดและความวิตกกังวลมากที่สุด ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่นำมาศึกษาน้อยที่สุดคือ ด้านอาการ (13.33%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพโดยรวมมีขนาดใหญ่ (d = 1.76) โดยผลลัพธ์ด้านจิตใจให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.20) ด้านร่างกายให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = 1.21) ปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสานมีค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุดต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (d = 2.83) ในขณะที่ด้านการรับสัมผัสมีขนาดอิทธิพลต่ำที่สุดต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (d = 0.54) 3. ลักษณะสมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทางมีผลเชิงลบต่อความแปรปรวน ของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจได้ 10.4%
Other Abstract: To study 1) Methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health outcomes of patients with heart disease; 2) Compare the effect of nursing interventions on health outcomes of patients with heart disease; and 3) Influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. The 37 quasi-experimental studies in Thailand during 1983-2004 were recruited. Studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. Effect sizes were calculated for each study using method of Glass, McGaw, & Smith (1981). This meta analysis yielded 82 effect sizes. Results were as follows 1. The majority of the study were master's thesis (89.20%); from Mahidol University (32.40%); from major of nursing (89.20%). Most of the study printed in 1998-2002 (48.70%); owned good quality (54.10%). Most of instruments were tested for both reliability and validity (64.90%). Most of nursing interventions was used was cognitive intervention (45.90%). Nursing intervention wasleast used was movement intervention (2.70%). Most of health outcomes was used was psychological health outcomes (38.33%). Health outcomes was least used was symptom health outcomes (13.33%). 2. Nursing interventions had the large effect-size on health outcomes (d = 1.76). Nursing interventions had the highest of effect-size on psychological health outcomes (d = 2.20), but had the lowest of effect-size on functional health outcomes (d = 1.21). Combined intervention had the highest of effect-size on health outcomes (d = 2.83). Sensory intervention had the lowest of effect-size on health outcomes (d = 0.54). 3. The hypothesis was the variable the significantly predicted effect size at the level of .05. The predictive power was 10.4% of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1942
ISBN: 9741763107
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sineenut.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.