Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19435
Title: | การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | Development of a supporting model for private basic education institutions |
Authors: | วณิชชา ภัทรประสิทธิ์ |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ชญาพิมพ์ อุสาโห |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pruet.S@Chula.ac.th Chayapim.U@Chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษาเอกชน -- ไทย การศึกษาเอกชน -- นโยบายของรัฐ -- ไทย การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพื่อพัฒนารูปแบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1)การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการวิจัย 2) การศึกษาสภาพและปัญหาของการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร/หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร และจากการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองสถานศึกษาเอกชน 3) การร่างรูปแบบ 4) การตรวจสอบและประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5)การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.การสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐ พบว่ามีความไม่เสมอภาคและเท่าเทียมกับสถานศึกษาของรัฐ ส่งผลให้เกิดการผูกขาดในการจัดการศึกษาโดยรัฐและเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการสนับสนุนของสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐปฏิบัติจริงและสภาพที่รัฐควรปฏิบัติในภาพรวม พบว่า สภาพที่รัฐปฏิบัติจริงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยในทุกด้าน ส่วนระดับที่รัฐควรปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยเมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างระดับที่รัฐควรปฏิบัติและระดับที่ปฏิบัติจริง พบว่า การสนับสนุนด้านที่ความแตกต่างสูงสุดคือ การสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายลงทุน รองลงมา คือ การสนับสนุนด้านวิชาการ 2. รูปแบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมและเป็นไปได้ คือ “รูปแบบบูรณาการ” (Integrative Model) มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การบูรณาการ การสนับสนุนด้านอุปสงค์ (Demand-Side Financing)และด้านอุปทาน (Supply-Side Financing) (2) การบูรณาการการสนับสนุนในรูปแบบการให้เป็นเงิน (In Cash) และรูปแบบไม่เป็นตัวเงิน (In Kind) ซึ่งการสนับสนุนด้านอุปสงค์ ประกอบด้วย คูปองการศึกษา การส่งเสริมสุขภาพนักเรียน การสนับสนุนด้านอุปทาน ประกอบด้วย กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคูปองเงินเดือนครู เงินค่าตอบแทนครู กองทุนพัฒนาผู้บริหาร ครูบุคลากรทางการศึกษา และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ควรกำหนดให้การปฏิรูปการศึกษาเอกชนเป็นวาระแห่งชาติ เร่งดำเนินการออกกฎหมายและระเบียบกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการให้การลงทุนด้านการศึกษาของเอกชน ควรมีการทดลองใช้รูปแบบ (Pilot Project) และควรพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของค่าใช้จ่ายทางการศึกษา (2) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Abstract: | This research aimed to present the states and problems of supporting private basic education Institutions from the government and to develop a proposed model for supporting private basic education institutions in Thailand. The research methodology compromised 5 steps. Step 1: Documentary analysis to develop a research framework. Step 2: Documentary analysis and survey research about the states and problems of supporting private basic education Institutions. Step 3: Construct the draft model. Step 4: Evaluate propriety and feasibility of the draft model by the expert Judgments. Step 5: Adjust and scrutinize to a proposed model. The research findings are summarized as follow : 1. The governmental supports to private institutions are not equal to public institutions which bring to oligopoly market and unfair competitions. The study of the states of supporting private basic education Institutions finds that the government supported at the low level all, vice versa the government should support at highest all in the statistic significant different of 0.05. The important problems are the supporting in the investment expenditures and academic supports. 2. The proposed model for Supporting Private Basic Education Institutions is “The Integrative Model” which comprises of 2 components (1) The integration of Demand-size financing and Supply-side financing (2) The integration of In Cash and In Kind supports. Demand-size financing consists of education coupon and health promotion for students. Supply-side financing is the infrastructure developing funds, teachers’ salary coupon, teachers’ welfare, the academic funds for teacher and the honor award for institutes, the school executive and teacher. Research Suggestion: (1) Suggestion for research implementation is the genuine and effective private education reform designated as national agenda; initiate “the pilot project” of this model and provide the information and technology data of educational expenditures. (2)Suggestions for future research is developing “The Proposed Strategies for Supporting Private Basic Education Institutions” |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19435 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.541 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanicha_pa.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.