Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19464
Title: หอพระไตรปิฎกประเภทเครื่องสับในเขตพื้นที่ภาคกลาง
Other Titles: The architecture of the wooden Buddhist scripture hall in the region of Thailand
Authors: ภัคธิมา วรศิริ
Advisors: ภิญโญ สุวรรณคีรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หอไตร -- ไทย (ภาคกลาง)
สถาปัตยกรรมไทย (ภาคกลาง)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หอพระไตรปิฎกเป็นอาคารเนื่องในพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสถาปัตยกรรมอื่นๆ มีหน้าที่สำคัญโดยเฉพาะเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎก ซึ่งมีรูปแบบต่างกันออกไป 3 รูปแบบ คือ หอพระไตรปิฎกแบบเครื่องสับที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หอพระไตรปิฎกแบบกึ่งเครื่องสับกึ่งเครื่องก่อคือสร้างด้วยไม้เฉพาะตัวเรือนข้างบนส่วนข้างล่างก่ออิฐถือปูนและหอพระไตรปิฎกแบบก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นศึกษาหอพระไตรปิฎกแบบเครื่องสับในพื้นที่ภาคกลางเนื่องด้วยมีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว และที่พบเหลืออยู่มีรูปแบบปลายอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์เท่านั้น การศึกษานี้ใช้วิธีการค้นคว้าเอกสารและสำรวจร่วมกัน พบว่าที่ตั้งของหอพระไตรปิฎกมีอยู่ทั้งในเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาสและระหว่างเขตทั้งสอง ผังพื้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือ ผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งรูปแบบของผังพื้นนี้มีความสัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยตรง โดย เฉพาะรูปทรงของหลังคาที่พบเห็นได้แก่ หลังคาทรงโรงและหลังคาจตุรมุข หอพระไตรปิฎกกลางน้ำนี้เรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตอบสนองการใช้งานอย่างตรงไป ตรงมาไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งกลางน้ำเพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาพระไตรปิฎกใบลาน และรูปแบบของผังพื้นที่ตอบสนองการใช้สอยหลัก รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในฐานะของอาคารที่ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎก รูปแบบโครงสร้างด้วยไม้สำหรับอาคารขนาดเล็กซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาเฉพาะ หอพระไตรปิฎกไม้กลางน้ำนี้ในปัจจุบันได้ถูกลดความสำคัญลงไปมากเนื่องจากพระไตรปิฎกใบลานได้เปลี่ยนไปเป็นหนังสือแทน หอพระไตรปิฎกจึงถูกทิ้งร้างอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ครั้งหนึ่งอาคารหอพระไตรปิฎกนี้เคยมีความ สำคัญอย่างมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาคารเนื่องในพระพุทธศาสนาอื่น แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการใช้สอยอาคารหอพระไตปิฎกแล้วก็ตามแต่ก็เห็นสมควรร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบไป
Other Abstract: The Buddhist Scripture Hall or “Tripitaka Hall” is the Buddhist architecture which is important no less than the others. It uses for keeping the Buddhist palm-leaf scripture. The Hall can be classified into three architectural formats. The first one is the wooden hall made of wood all dwelling and the second one is made of wood on upper part and brick as well as lime on lower part. The last one is made of brick and lime all dwelling. Because the first format halls have outstanding style, this thesis is focusing on them by studying through the documents and surveying. These focused ones were built in the last period of Ayutthaya and the beginning period of Rattanakosin and located, nowadays, in central of Thailand. These halls can be found in both shrine and monastery and also area between them. The plan can be classified into two types; the rectangle one and the square one. These types of plan directly relate to the architectural style, especially the well-known roof forms which are the gable roof and the fourgable- end roof. These Tripitaka Hall’s unique style can respond to its function. For instance, its position which is located on the central of pond can protect the palm-leaf scripture from termites, its plan format which responds to its main function indicates its significance as Tripitaka Hall and also its wooden structure for constructing small hall which is one of Thai’s wisdom. These days, Tripitaka Hall has been depreciated and deserted owing to changing of palm-leaf manuscript form into made-of-paper book form. Although, nowadays, not used anymore, Tripitaka Hall should be significantly conserved along with the essential Buddhism.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19464
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2092
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2092
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phakthima_va.pdf14.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.