Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19469
Title: การเมืองในการให้สินเชื่อการเกษตรของรัฐบาล พ.ศ. 2509-2524 (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)
Other Titles: The politics of government agricultural credit 1966-1981 (Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)
Authors: ดรุณี ฉายัษเฐียร
Advisors: กนก วงษ์ตระหง่าน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สินเชื่อเกษตร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงผลความพยายามของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรทางหนึ่ง คือความพยายามในการช่วยเหลือเกษตรกรในรูปการให้สินเชื่อการเกษตร โดยจัดตั้งสถาบันทางการเงิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพ หรือการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ซึ่งกฎหมายรองรับให้เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาความยากจน และเพิ่มรายได้ทางการเกษตร นั่นเอง โดยกำหนดช่วงเวลาของการศึกษาอยู่ในระหว่างพ.ศ. 2509-2524 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นการจัดตั้งสถาบัน ธ.ก.ส. จนถึงปีดำเนินการปัจจุบัน สิ่งมุ่งหมายที่นำมาอธิบายในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การที่รัฐบาลกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรไว้อย่างคลุมเครือไม่แน่ชัด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลไกต่างๆหรือหน่วยงานที่รัฐบาลสร้างขึ้นไม่สามารถที่จะสนองนโยบายของรัฐอย่างได้ผลสมบูรณ์ โดยเฉพาะงานด้านสินเชื่อการเกษตร ซึ่งดำเนินการโดยสถาบัน ธ.ก.ส. นั้น เป็นงานที่ต้องการชี้นำนโยบายที่แน่นอน และเด่นชัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปริมาณสินเชื่อการเกษตร การกำหนดกลุ่ม หรือระดับของเกษตรกรที่รัฐประสงค์จะช่วยเหลือให้บริการสินเชื่อการเกษตร การประกาศเขตหรือพื้นที่ดำเนินการ และพืชผลทางการเกษตร เป้าหมายสำหรับส่วนสำคัญในการศึกษาคือ การประเมินผลสำเร็จของรัฐบาล ในการช่วยลดปัญหาความยากจนของเกษตรกรและเพิ่มรายได้ทางการเกษตร ตลอดจนช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรทุกระดับอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาล โดยผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้งนี้ ในการพิจารณาจะได้ศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะปัญหาของเกษตรกรไทยและการจัดตั้ง ธ.ก.ส. ขึ้น เพื่อเป็นมาตรการหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกร ขอบเขตการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตร และการบริหารงานสินเชื่อ ตลอดจนผลการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรของ ธ.ก.ส. เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกร โดยกำหนดศึกษาจากนโยบายของรัฐบาลกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ธ.ก.ส. ในการบริการสินเชื่อสำหรับเกษตรกรในเขตก้าวหน้า หรือค่อนข้างก้าวหน้า และเขตยากจน ตลอดจนศึกษารายละเอียด ข้อจำกัดปัญหา อุปสรรค รวมทั้งการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรของ ธ.ก.ส. และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรของ ธ.ก.ส. ในอนาคต ผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ พบว่า ขอบเขตการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรและการบริหารงานสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ไม่สามารถสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึงทุกระดับ ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากข้อจำกัด และปัญหาอุปสรรค ทั้งปัญหาความไม่แน่ชัดในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเองและปัญหาระดับองค์การของ ธ.ก.ส. ตลอดจนปัญหาซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตความสามารถของ ธ.ก.ส. ที่จะพิจารณาแก้ไขปรับปรุง หรือเตรียมการล่วงหน้าได้ ซึ่งเป็นผลให้ ธ.ก.ส. ไม่สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทั่วถึงทุกระดับ ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ให้บริการสินเชื่อการเกษตรจำกัดขอบเขตเฉพาะเกษตรกรที่อยู่ในเขตก้าวหน้า หรือค่อนข้างก้าวหน้ามากกว่าเกษตรกรในเขตยากจน นอกจากปัญหาอุปสรรคดังกล่าวแล้ว แนวความคิดของ ธ.ก.ส. ในการบริหารงานสินเชื่อการเกษตรที่ผ่านมาในอดีตยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนส่งเสริมให้ ธ.ก.ส. พัฒนาบทบาทในการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายการให้บริการสินเชื่อการเกษตรของรัฐบาล และปัจจัยนี้ยังมีผลต่อเนื่องในการมีส่วนกำหนดแนวโน้มการพัฒนาบทบาทของ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปทำนองเดียวกับสถาบันการเงินในรูปธนาคารทั่วไปด้วย ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้เสนอทางเลือกให้ ธ.ก.ส.พิจารณาดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรโดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้จากอาชีพการเกษตร แทนที่จะคำนึงถึงความมั่นคงหรือหลักทรัพย์ หรือฐานะของเกษตรกรในการชำระหนี้คืน และได้เสนอลู่ทางเตรียมการหรือปรับปรุงปัจจัยเบื้องต้นบางประการในการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตรตลอดจนคาดการณ์ถึงปัญหาอุปสรรคซึ่งอาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานสินเชื่อการเกษตร ตามแนวทางที่เสนอเพื่อทำให้ ธ.ก.ส. สามารถสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างแท้จริง นั่นแสดงถึงผลสำเร็จของรัฐบาลในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรโดยผ่าน ธ.ก.ส. และสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของ ธ.ก.ส. ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: This thesis entails a baseline study on the impact of the Thai Government’s concerted effort to uplift the standard of living of Thai farmers through the provision of comparatively cheap agricultural credit by the Government’s agricultural credit institution know as the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperative (BAAC). The BAAC, established in 1966 as a Government Enterprise under the jurisdiction of the Ministry of Finance, has ad its primary aim to provide assistance in the form of loans in order to increase the income generating capacity of bona fide farm families, Agricultural Cooperatives, and Farmers Associations. A basic premise of this thesis is that governmental policies concerning the upliftment of the Thai farming community remain vague and unprecise thereby contributing to the inability of governmental agencies and institutions to perform their designated functions in strict conformity with government policy, BAAC’s agricultural credit operations are a case in point. In the absence of clearly defined policy directions, BAAC is confronted with difficulties vis a vis fixing credit volumes, spatial expansion, targeting groups of farmers, and supporting agricultural occupations promoted by the concerned government agencies. The focus of this study is to evaluate the success of the Thai government’s strategy to alleviate poverty and improve farm incomes through the timely and equitable provision of agricultural credit through the BAAC. Due accord is given to the nature of problems facing Thai farmers, and the scope, the implementation, and the impact of BAAC’s agricultural credit operations amongst farmes is progressive, semi – progressive, and poverty areas of the Kingdom. Moreover possible solutions to problems and constraints facing the BAAC are recommended is an endeavor to enable the BAAC to more effectively pursue its poverty alleviation goal, and to more realistically play its agricultural development role, in close accordance with policies defined by government.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19469
ISBN: 9745626821
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darunee_Ch_front.pdf398.67 kBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_ch1.pdf898.95 kBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_ch2.pdf826.13 kBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_ch4.pdf970.97 kBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_ch5.pdf892.05 kBAdobe PDFView/Open
Darunee_Ch_back.pdf628.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.