Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1947
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความว้าเหว่ในผุ้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล |
Other Titles: | Relationships between selected factors and loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients |
Authors: | เพ็ญพโยม เชยสมบัติ, 2508- |
Advisors: | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ความนับถือตนเองในผู้สูงอายุ พยาบาล |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ภาวะอารมณ์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง กับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามการได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากพยาบาล แบบสอบถามภาวะอารมณ์ แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบวัดความว้าเหว่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .93, .87 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่ในระดับต่ำ (Mean = 1.95) 2. การได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากพยาบาล และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.250, -.321 ตามลำดับ) 3. ภาวะอารมณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุ ที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .625) ภาวะอารมณ์ด้านความวิตกกังวลและความซึมเศร้าด้านความโกรธ มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .682, .680 ตามลำดับ) ภาวะอารมณ์ด้านความกระปรี้กระเปร่า มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.196) 4. เพศ อายุ รายได้ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความว้าเหว่ในผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To study the loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients and the relationships between selected factors, such as sex, age, income, activity of daily living, professional support, length of stay, profile of mood states, self-esteem, and loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients. Subjects consisted of 140 hospitalized chronically ill elderly patients in inpatient departiment in government hospitals, Bangkok Metropolis, and were selected by using simple random sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, Barthel ADL Index, professional support, profile of mood states, self-esteem, and loneliness questionnaires which were tested for content validity and reliability. The reliability were .80, .93, .93, .87 and .88 respectively. Data were analysed by using statistic methods, including frequency, mean, standard deviation, Point Biserial's correlation and Pearson's correlation. Major findings were as follows 1. Loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients was at low level. (Mean = 1.95) 2. Professional support and self-esteem were significantly negative correlated with loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients at level of .05 (r = -.250, -.321 respectively) 3. Profile of mood states was significantly positive correlated with loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients at level of .05 (r = .625): anxiety-depression and anger factors were significantly positive correlated with loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients at level of .05 (r = .682, .680 respectively), vigor factor was significantly negative correlated with loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients at level of .05 (r = -.196) 4. Sex, age, income, activity of daily living, and length of stay were not correlated with loneliness of the hospitalized chronically ill elderly patients at level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1947 |
ISBN: | 9741763344 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Penpayome.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.