Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1951
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorดวงจันทร์ วงษ์สุวรรณ, 2507--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T03:35:10Z-
dc.date.available2006-08-19T03:35:10Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741761376-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1951-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล โดย 1) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับกลุ่มที่ปฏิบัติงานตามปกติ และ 2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล ก่อนและหลังการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรการพยาบาลตึกศัลยกรรมอุบัติเหตุชาย โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 37 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ซึ่งใช้แนวคิดการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมของ Clark (1978) คู่มือการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบประเมินพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาล เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .88 และ .97 ตามลำดับ วิธีการดำเนินการทดลองคือ กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมจำนวน 6 ครั้ง ประกอบด้วยการฝึกพฤติกรรมด้านความเป็นอิสระ ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการใช้สิทธิ ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ และด้านการติดต่อสื่อสาร หลังจากผ่านการประเมินว่ามีทักษะพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมครบถ้วนแล้ว บุคลากรการพยาบาลนำทักษะดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ขณะที่กลุ่มควบคุมมีการปฏิบัติงานตามปกติ หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลการทดลองโดยให้ทั้งสองกลุ่มตอบแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) 2. คะแนนการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลภายหลังได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนได้รับพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงว่า การฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมมีผลทำให้การทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to study effects of assertive behavior training for nursing personnel by comparing team work of nursing personnel between 1) the experimental group who received the assertive behavior training and control group who practiced on the conventional nursing assignment. 2) the experiment group before and after the program implementation. Study subjects consisted of 37 nursing personnel who working in Surgical Male Unit of Chonburi Hospital. The experimental group were 17 nursing personnel and control group were 20 nursing personnel. Study instruments were the assertive behavior training, a manual of assertive behavior training, Nursing Personnel Assertive Behavior Evaluation (NPABE), Nursing Personnel Assertive Behavior Observation (NPABO), and Nursing Personnel Team Work Questionnaire (NPTWQ). Those instruments were tested for content validity. The NPABE, NPABO and NPTWQ tested for reliability were .74, .88, and .97 respectively. According to the study, nursing personnel of experimental group were received 6 times training of assertive behaviors including freedom, control, rights, responsibility, and communication. After training, they applid those skills for working in a unit for 4 weeks. After the experiment, both control and experimental groups were asked to complete the NPTWQ. Study data were analyzed by using mean, standard deviation, analysis of covariance and t-test. The findings revealed that: 1. The scores of team work of nursing personnel in experimental group after received the assertive behavior training were significantly higher than those in control group (p-value < .001). 2. The scores of team work of nursing personnel after received assertive behavior training were significantly higher than prior to training (p-value < .001). These results indicate that the assertive behavior training is effective for increasing higher level of team work.en
dc.format.extent2596601 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพยาบาลเป็นทีมen
dc.subjectการแสดงออก (จิตวิทยา)en
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์en
dc.subjectการฝึกอบรมen
dc.titleผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรการพยาบาลen
dc.title.alternativeEffect of assertive behavior training on team work of nursing personnelen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAreewan.O@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daungjan.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.