Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19559
Title: | การศึกษาความพร้อมของสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิในการทำงานแบบเครือข่าย |
Other Titles: | A study of the primary health care units' readiness in the networks for network operation |
Authors: | กฤติยา ศศิภูมินทร์ฤทธิ์ |
Advisors: | วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wathana.W@Chula.ac.th |
Subjects: | สถานบริการสาธารณสุข -- ความพร้อมปฏิบัติการ บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) บริการทางการแพทย์ Health facilities -- Operational readiness Primary care (Medicine) Medical care |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ที่มีความเท่าเทียม ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพแก่ประชาชน งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่ายรวมทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่าย ของ ศูนย์แพทย์ชุมชนองค์พระปฐมเจดีย์ สถานีอนามัยตำบลสนามจันทร์ และ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนคร นครปฐม จ.นครปฐม รวมจำนวน 3 แห่ง โดยการใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมเป็นวิธีการในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 มีความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่าย โดยมีระดับความพร้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์แพทย์ชุมชนองค์พระปฐมเจดีย์ มีความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่ายมากที่สุด รองลงมาคือ สถานีอนามัยสนามจันทร์ และที่ยังไม่มีความพร้อมคือ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนคร นครปฐม ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเกื้อหนุนให้เกิดความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่าย คือ ลักษณะของชุมชน ลักษณะทางกายภาพ ขนาดและระบบงบประมาณ ลักษณะการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน ลักษณะการทำงานของผู้บริหาร กฏระเบียบและข้อบังคับที่องค์การใช้อยู่ ความรู้ความสามารถในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการทำงานแบบเครือข่ายของผู้บริหาร การจัดสรรอัตรากำลังขององค์การ กระบวนการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานของเครือข่าย การดำเนินการร่วมกับหน่วยงานประเภทอื่นๆ และระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ส่วน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดของความพร้อมในการทำงานแบบเครือข่าย คือ ขาดนโยบายที่เน้นให้หน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลักในการประสานงาน ไม่มี การวางแผนทิศทางที่มุ่งเน้นผลงาน มีโครงสร้างขององค์การและสายการบังคับบัญชาที่เป็นลำดับขั้นค่อนข้างสูง ไม่มีการบริหารงานที่สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีความครบถ้วนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาเป็นเครือข่าย ไม่มีองค์ความรู้ที่สร้างใหม่จากกระบวนการบริหารจัดการความรู้ และ/หรือ การเรียนรู้ขององค์การ และ ไม่มีระบบการบริหารต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขตั้งแต่ระดับกระทรวงลงมาจนถึงระดับท้องถิ่นควรจัดให้หน่วยงานมีนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีแพทย์หมุนเวียนมาให้บริการ การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และพัฒนาองค์ความรู้จากกระบวนการบริหารจัดการความรู้ ส่วนข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิควรส่งเสริมให้มีเจ้าหน้าที่จิตอาสามาช่วยงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประสานงาน การคำนึงถึงเครือข่าย การวางแผนทิศทางที่มุ่งเน้นผลงาน และระบบการบริหารต้นทุน รวมทั้งหน่วยงานต้นสังกัดของสถานบริการระดับปฐมภูมิควรปรับโครงสร้างขององค์การและสายการบังคับบัญชาให้มีลำดับชั้นน้อยลงและมีความยืดหยุ่นในการสั่งการมากขึ้น |
Other Abstract: | The organizations concerning primary care have tried to develop their effectiveness service for all people equally. This research has its main objectives to study the readiness in the networks for network operation and to study supporting factors and obstacles found in three health centers, namely Phra Pathom Chedi community medical center, Sanam Chan sanitarium and Nakhon Pathom municipality health center. The methodology utilized were semi-structured interview and, participatoryobservation. The results from the study revealed that all three centers had different readiness for network operation. Phra Pathom Chedi community medical center had comparatively most readiness. The second is Sanam Chan sanitarium whereas Nakhon Pathom municipality health center had not shown its readiness. The factors affecting the readiness in network operation were the community characteristics, size, and budget administration system, staff working style, executive working style, organization regulations, knowledge and capability in responsible job, executives’ roles in network operation, manpower allocation, quality assurance and control of network operation, cooperation with other organizations, and monitoring and evaluation system. I was also found that the obstacles of networking include the lack of policy for stakeholders’ participation, no information technology for coordination, no performance based direction planning, complex organization structure and line of command, inadequate morale of staff, insufficient stakeholders in the network, no knowledge management or learning organization practice, and no effective unit cost management system.From this study, it recommended that the agencies of the Public Health Ministry at national and local levels put the emphasis on more stakeholders’ participation, recruiting more doctors, more incentive for staff, more support for knowledge management. In addition, the primary care units should recruit more volunteers, use more information technology for coordination, create more cooperation of stakeholders in the network, use performance based direction planning, and manage unit cost system. Besides, the organizational structure of primary care units should modified to be more simple and flexible |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19559 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.619 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.619 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
krittiya_sa.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.