Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19592
Title: | ผลของอุณหภูมิ เวลา และ ออกซิเจน ของการอบอ่อนต่อการเกิดผิวออกไซด์ทุติยภูมิและพฤติกรรมการกัดผิวด้วยกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 304 |
Other Titles: | Effects of annealing temperature, time and oxygen on secondary oxide formation and pickling behavior of AISI 304 stainless steel |
Authors: | ปัทมา แนวกันยา |
Advisors: | อุรา ปานเจริญ กอบบุญ หล่อทองคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ura.P@Chula.ac.th Gobboon.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การอบ เหล็กกล้าไร้สนิม ออกซิเดชัน เหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กกล้าไร้สนิม -- การกำจัดสนิม การอบอ่อนโลหะ Stainless steel Stainless steel -- Pickling Annealing of metals |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอุณหภูมิการอบอ่อนที่ 1000 และ 1100 °ซ เวลา 90 วินาที และ 150 วินาที ในบรรยากาศจำลองที่มีออกซิเจนร้อยละ 1.01, 4.63 และ 7.08 ต่อการเกิดออกไซด์ทุติยภูมิของเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 304 คอยด์ดำที่ผ่านการรีดแบบต่อเนื่องและการกัดด้วยสารละลายกรด2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกใช้สารละลาย 4 M HCl + 15 g/L H2O2 อุณหภูมิ 60°ซ ขั้นตอนสองใช้สารละลาย 1 M H2NO3 + 1 M HF อุณหภูมิ 45°ซ การศึกษาออกไซด์ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด และวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีของออกไซด์ด้วยเครื่องวิเคราะห์รูปแบบการเลียวเบนของรังสีเอ็กซ์ (x-ray diffraction) ผลการทดลองพบว่าออกไซด์ปฐมภูมิมีความหนาประมาณ 5-6 ไมโครเมตร องค์ประกอบเคมีเป็น FeCr2O4 และ Fe2O3 หลังการอบอ่อนและจุ่มชิ้นงานลงน้ำพบว่าน้ำหนักของชิ้นงานจะลดลงเพราะออกไซด์ทุติยภูมิที่มีรูพรุนหลุดออก การอบอ่อนที่อุณหภูมิ 1100°ซ มีปริมาณออกไซด์ทุติยภูมิที่เหลืออยู่น้อยกว่าการอบอ่อนที่อุณหภูมิ 1000°ซ ผลของอุณหภูมิและเวลาจะมากกว่าผลของออกซิเจน ส่วนใหญ่ออกไซด์ทุติยภูมิมีองค์ประกอบเป็น Fe2O3 และ FeCr2O4 ยกเว้นการอบอ่อนที่อุณหภูมิ 1100°ซ เวลา 150 วินาที พบองค์ประกอบออกไซด์เป็น Fe2O3, FeCr2O4 และ Cr2O3 ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักที่เพิ่มกับเวลาการอบอ่อนเป็นสมการเส้นตรง อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 1100°ซ ในบรรยากาศจำลองที่มีออกซิเจนร้อยละ 1.01 มากกว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 1000°ซ ในบรรยากาศจำลองที่มีออกซิเจนร้อยละ 7.08 การอบอ่อนที่อุณหภูมิ 1000°ซ เวลา 90 วินาที ในบรรยากาศจำลองที่มีออกซิเจนร้อยละ 7.08 เป็นสภาวะที่ออกไซด์ทุติยภูมิถูกกำจัดออกได้หมดด้วยสารละลายกรดในขั้นตอนแรก การอบอ่อนที่อุณหภูมิ 1100°ซ เวลา 150 วินาที บรรยากาศจำลองที่มีออกซิเจนร้อยละ1.01 และ 4.63 เป็นสภาวะที่ไม่สามารถกำจัดออกไซด์ด้วยการกัดกรดทั้งสองขั้นตอน |
Other Abstract: | This work studied the effects of annealing temperatures, at 1000oC and 1100oC, times of 90 s, 150 s, and oxygen of 1.01%, 4.63% and 7.08% and acid pickling behavior of AISI 304 stainless steel black coil. The first acid pickling condition was solution of 4-M HCl + 15 g/L H2O2 at 60oC. The second acid pickling condition was solution of 1-M H2NO3 + 1-M HF at 45oC. The primary (as-received state) and secondary oxides were investigated by Optical microscope (OM), Scanning electron microscopy (SEM) and x-ray diffraction (XRD). The results showed that the thickness of primary oxide consisting of FeCr2O4, and Fe2O3 were about 5-6 μm. After annealing and water quenching, the sample weight decreased because the porous secondary oxide was spalled. Annealing at 1100oC resulted in less remaining secondary oxide on sample than annealing at 1000°C. The effects of temperature and time were more than that of oxygen. Mostly secondary oxide consisted of Fe2O3 and FeCr2O4.However, by annealing at 1100oC, time of 150 s, secondary oxide consisted of Fe2O3, FeCr2O4 and Cr2O3. The weight gain was directly proportional to annealing time. Reaction rate at annealing temperature of 1100oC in the oxygen of 1.01% was higher than that of 1000oC in the oxygen of 7.08%. For annealing at 1000oC, 90 s in the oxygen of 7.08%, the secondary oxide was easily removed in the first acid pickling. For annealing at 1100oC, 150 s in the oxygen of 1.01%, 4.63% the secondary oxide was difficultly removed in the both steps of acid pickling. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19592 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.433 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.433 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pattama_na.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.