Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19650
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร พุ่มจันทร์-
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์-
dc.contributor.authorปิยะธิดา แสงทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialลำปาง-
dc.date.accessioned2012-05-18T14:42:29Z-
dc.date.available2012-05-18T14:42:29Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19650-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาที่สัมพันธ์กับศักยภาพการเกิดกรดของเหมืองถ่านหินมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำเหมืองเป็นกรด (Acid Mine Drainage, AMD) ของพื้นที่ศึกษา รวมถึงประเมินศักยภาพการเกิดกรดของพื้นที่เสี่ยง โดยทำการศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งถ่านหินในภาคเหนือเปรียบเทียบกับลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ศึกษา และทำการทดสอบและประเมินศักยภาพการเกิดน้ำเหมืองเป็นกรดของตัวอย่างด้วยวิธีสแตทิค (Static Tests) ซึ่งประกอบด้วยวิธี Acid Base Accounting Test (ABA Test) และ Net Acid Generation Test (NAG Test) ผลจากการเปรียบเทียบลักษณะทางธรณีวิทยาพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดกรดของแหล่งถ่านหินมากที่สุดคือแอ่งแม่ทะ พื้นที่ที่มีศักยภาพการเกิดกรดรองลงมาคือแอ่งวังเหนือและแอ่งเสริมงาม และพื้นที่ที่มีศักยภาพการเกิดกรดน้อยสุดคือ แอ่งแจ้ห่มและแอ่งงาว และจากการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพค่าการเกิดกรดของเหมืองถ่านหินลิกไนต์และดินบอลเคลย์ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง พบว่าจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบทั้งหมด 199 ตัวอย่าง พบตัวอย่างที่มีโอกาสในการเกิดกรดจากการทดสอบแบบ ABA Test จำนวน 31 ตัวอย่าง จากการทดสอบแบบ NAG Test จำนวน 17 ตัวอย่าง และจากการเปรียบเทียบระหว่าง ABA Test กับ NAG Test จำนวน 9 ตัวอย่าง โดยภาพรวมตัวอย่างที่มีศักยภาพในการเกิดกรดของพื้นที่ศึกษามีทั้งหมด 42 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 21.11 เปอร์เซ็นต์ โดยชั้นหินที่แสดงศักยภาพในการเกิดกรดมาจากชั้นถ่านหินชั้นที่ 1 (Coal I) ชั้นถ่านหินชั้นที่ 2 (Coal II) ชั้นแร่ดินบอลเคลย์ (Ball Clay) ชั้นระหว่างชั้นถ่านหิน (Interburden) และชั้นล่างชั้นถ่านหิน (Underburden) กล่าวโดยสรุปการศึกษาในครั้งนี้ได้บ่งบอกถึงศักยภาพการเกิดกรดของพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษามาตรการจัดการเพื่อลดผลกระทบของการเกิดกรดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมาตรการการป้องกันและแก้ไขต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe geological characteristics associated to potential acidity of coal mine study mainly aims to identify risk areas of acid mine drainage (AMD) and potential occurrence of acid-risk areas. The study involves the identification and geological comparison of coal basin located in the Northern of Thailand to the Lignite Coal and Ball Clay Mine, Lampang Province. This study also includes the evaluation of potential AMD by adopting two static tests which are Acid Base Accounting Test (ABA Test) and Net Acid Generation (NAG Test). The geological comparison study of coal basin geology reveals that the coal basin with the highest potential of AMD is Mae Ta basin, coal basin with moderate potential of AMD are Wang Nue and Serm Ngarm basin and coal basin with the least potential of AMD are Jae Hom and Ngao basin. Moreover, the results from the evaluation of the potential of AMD in the Lignite Coal and Ball Clay Mine show that the number of samples displaying potential of AMD from ABA Test, NAG Test and the comparison between ABA – NAG Test are 31, 17 and 9 samples, respectively. In overall, a total of 42 samples out of 199 tested samples show the potential of AMD accounting for 21.11 percents. The geological units with the potential of AMD are Coal I, Coal II, Ball Clay, Interburden and Underburden. In conclusions, this study has identified the acid generated potential areas, consequently this leads to the effective AMD management and its preventive measures.-
dc.format.extent5714819 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.626-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเหมืองแร่-
dc.subjectถ่านหิน -- ธรณีวิทยา-
dc.subjectลิกไนต์ -- ธรณีวิทยา-
dc.titleลักษณะทางธรณีวิทยาที่สัมพันธ์กับศักยภาพการเกิดกรดของเหมืองถ่านหิน: กรณีศึกษาเหมืองถ่านหินลิกไนต์และดินบอลเคลย์ จังหวัดลำปางen
dc.title.alternativeThe geological characteristic associated to potential acidity of coal mine : a case study of lignite coal and ball clay mine Lampang provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมทรัพยากรธรณีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunthorn.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSrilert.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.626-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyatida_sa.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.