Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1970
Title: | ลักษณะภาวะพฤฒพลัง : กรณีศึกษาผู้สูงอายุไทยที่มีชื่อเสียง |
Other Titles: | Active ageing attribution : a case study of elite thai elderly |
Authors: | ปาริชาต ญาตินิยม, 2515- |
Advisors: | จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตชีวประวัติและบรรยายลักษณะภาวะพฤฒพลัง กรณีศึกษาผู้สูงอายุไทยที่มีชื่อเสียง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา (Case Study Method) คัดเลือกผู้สูงอายุกรณีศึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดตามแนวคิดพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก (WHO, 2002) ซึ่งได้แก่ 1. นางวิรุฬ ชะเอมศิลป์ 2. นางบุญมี เครือรัตน์ 3. นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ 4. นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช 5. พลตรีจำลอง ศรีเมือง และ 6. นายแพทย์เฉก ธนะสิริ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลเอกสารและจากการสังเกต ข้อมูลการสัมภาษณ์บันทึกด้วยเทปบันทึกเสียงและนำมาถอดความแบบคำต่อคำวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะภาวะพฤฒพลังกรณีศึกษาผู้สูงอายุไทยที่มีชื่อเสียงประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การไม่อยู่นิ่งทำกิจกรรมตลอดเวลา คือ การที่ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ตนชอบในยามว่างและกิจกรรมที่ทำในองค์กรที่ตนเป็นสมาชิก 2) การมีสุขภาวะดี คือ การที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณได้เหมาะสมกับวัย และ 3) การมีความมั่นคงในชีวิต คือ การที่ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นใจปลอดภัย มีความรู้สึกแน่นอนถึงปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิต ซึ่งได้แก่ รายได้ ที่อยู่อาศัยและผู้ดูแล ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงลักษณะภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุที่มีชื่อเสียงในบริบทสังคมไทย พยาบาล บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำความรู้เกี่ยวกับลักษณะภาวะพฤฒพลังเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำผู้สูงอายุหรือบุคคลในวัยอื่นในการดูแลสุขภาพเพื่อช่วยให้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีพฤฒพลัง |
Other Abstract: | The purposes of this study were to learn about life history and to explore attributes of active ageing of elite Thai elderly. A qualitative research method by using case study was applied as the methodology for this study. The elderly cases for this study were selected according to the active ageing concepts from WHO (2002). These cases were: 1. Mrs.Wiroon Chaimsil, 2. Mrs.Boonme Kuerat, 3. Mr.Tongorn Sittigaipong, 4. Dr.Banloo Silipanit, 5. MG.Jumlong Simueng and 6. Dr.Chek Thanasiri. Data were collected by interview, document review and observation. The interviews were tape recorded and transcribed verbatim. Content analysis was used as the analysis method. Active ageing among elite Thai elderly consisted of three attributes. These were : 1) Continually Active, which means the elderly perform their favorite activities and participate in activities of the organizations of which they are members; 2) Being Healthy, which means the elderly are able to appropriately care for themselves in physical, mental, social, and spiritual aspects; and 3) Having Security, which means the elderly have feelings of being safe and free from worry about income, housing and caregivers. Results from this study contribute to understanding the attributes of active ageing among elite Thai elderly. This may be useful for nurses or other health personel in advising or giving knowledge to the elderly or people in other age groups to encourage active ageing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1970 |
ISBN: | 9745322822 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parichat.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.