Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิดารัตน์ บุญนุช-
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.authorสุพิตรา เศลวัตนะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-20T01:42:09Z-
dc.date.available2012-05-20T01:42:09Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรม 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสำรวจสภาพการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษา และแบบสอบถามการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เอกสารการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษา หลักทศพิธราชธรรม และการวางแผนกลยุทธ์ จำนวน 133 ฉบับ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 6 แห่ง นิสิตนักศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร รวม 570 คน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์สภาพการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรม ต่อจากนั้นใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของงานกิจการนิสิตนักศึกษา นำผลการวิเคราะห์มากำหนดกลยุทธ์การบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรม และตรวจสอบกลยุทธ์โดยวิธีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษามีการนำ “ทศพิธราชธรรม”ประกอบด้วยหลักธรรม10 ประการ คือ ทาน ศีล ปริจจาคะ อาชชวะ มัททวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ และ อวิโรธนะ มาใช้ในการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาในระดับไม่สูงสุดหรือยังไม่เต็มเปี่ยม กลยุทธ์การบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์ระดับองค์กรหรือกลยุทธ์หลัก 1 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การน้อมนำหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษา และมีกลยุทธ์รองหรือกลยุทธ์ระดับแผนงาน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนานิสิตนักศึกษา 2) กลยุทธ์ส่งเสริมกิจกรรมนิสิตนักศึกษา 3) กลยุทธ์การเสริมสร้างความพร้อมในการศึกษา และ 4)กลยุทธ์การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ สามารถนำกลยุทธ์การน้อมนำหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษา มากำหนดเป็นนโยบายและประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมงานกิจการนิสิตนักศึกษาของสถาบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้บริหารและบุคลากรนิสิตนักศึกษาควรยึดแผนปฏิบัติงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามหลักทศพิธราชธรรมเป็นแนวทางในประพฤติปฏิบัติตน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบริหารงานอย่างธรรมาภิบาล นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และความสมบูรณ์พร้อมของนิสิตนักศึกษาen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this descriptive research is twofold, namely, 1) to study and analyze the student affairs administration, 2) to develop the administration strategies based on Royal Virtues. Instruments used were documentary analysis, student affairs administration checklist, and student affairs administration questionnaires. The sample composed of 133 papers related to student affairs administration, Royal Virtues, and strategic planning, 6 governmental and private universities/colleges and 570 students / administrators/ instructors/student personnel. Data were primarily analyzed using content analysis and descriptive statistics. Thereafter SWOT analysis was employed in developing model to ascertain appropriateness. Student administration strategies which were validated by the connoisseurship. Findings revealed that royal virtues, comprising Dana (charity), Sila (high moral character), Pariccaga (self-sacrifice), Ajjava (honesty), Maddava (kindness, gentleness), Tapa (self-control), Akkodha (non-anger), Avihimsa (non-violence), Khanti (tolerance), and Avirodhana (conformity in law),were were partly used by the student affairs administrators. The resulting strategies composed of five policy-level strategies. A principle strategy was the adoption of the Royal Virtures in student affairs administration. The other four strategies were 1) the student’s development strategies; 2) the student’s activities strategies; 3) the student’s readiness in learning strategies; and 4) the promotion and conservation of arts and culture strategies. A Royal Virtures are recommended to be integrated by administrators in student affairs strategies so as to guide their organizational policies in order to promote higher effectiveness student affairs administration. Additionally, administrators and student personnel should use Royal Virtures as stated in the planning for student affairs administration as guidelines for their practices, in achieving good governance and student benefits.en
dc.format.extent21456167 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.508-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.subjectกิจการนักศึกษาen
dc.subjectทศพิธราชธรรมen
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวทศพิธราชธรรมen
dc.title.alternativeThe development of student affairs administration strategies based on Rajadhamma (royal virtues)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThidarat.B@chula.ac.th-
dc.email.advisorPornchulee.A@Chul.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.508-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supitra_se.pdf20.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.