Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1973
Title: การเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยตามการจำแนกประเภทผู้ป่วย กับค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจริงตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม : หอบำบัดพิเศษโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี
Other Titles: The comparative studies of the nursing activities cost based on patient classification with the diagnosis related group allocation of patient : coronary care unit, Ramathibodi Hospital
Authors: สุวรรณี เหรียญรุ่งเรือง, 2501-
Advisors: สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การบัญชีต้นทุนกิจกรรม
บริการการพยาบาล
ต้นทุนการผลิต
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยและศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยกับค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจริงตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ในหอบำบัดพิเศษโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing System : ABC) และแนวคิดค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเงินจริงตามกลุ่มวินิฉัยโรคร่วมของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (2545) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรทางการพยาบาล 27 รายและผู้ป่วย 20 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอบำบัดพิเศษโรคหัวใจตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2547 เครื่องมือการวิจัยมี 4 ชุด คือ 1) คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยวิกฤตตามการจำแนกผู้ป่วยระบบ TISS-28 (1996) 2) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลโดยจำแนกกิจกรรมการพยาบาลตามแนวคิดของ Urden and Roode (1997) 3) แบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล และ 4) แบบบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเครื่องมือทั้ง 4 ชุดได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวม โดยการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลของบุคลากรทางการพยาบาลในหอบำบัดพิเศษโรคหัวใจที่ปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วย 20 ราย และรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมทั้ง 20 ราย ของผู้ป่วยจากหน่วยเวชสถิติ แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยประเภทที่ 4 มีค่าต้นทุนต่อหน่วยสูงที่สุดคือ 3,790.70 บาท รองลงมาคือ ผู้ป่วยประเภทที่ 3 มีค่าเท่ากับ 2,165.69 บาท และผู้ป่วยประเภทที่ 2 มีค่าเท่ากับ 1,495.77 บาท 2. ค่าเฉลี่ยต้นทุนตามประเภทกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยที่สูงที่สุด คือ ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทางตรงในผู้ป่วยทุกประเภท คือ ผู้ป่วยประเภทที่ 4 มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วย 2,571.12 บาท ผุ้ป่วยประเภทที่ 3 มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล 1,444.31 บาทและผู้ป่วยประเภทที่ 2 มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล 909.87 บาท 3. ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทางตรงต่อหน่วยที่มีค่าสูงสุดคือ หัตถการพยาบาล ในผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 เท่ากับ 1,008.36 บาท และ 1,001.68 บาท 4. ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อมด้านบริการต่อหน่วยที่มีค่าสูงสุด คือ การเตรียมความพร้อมในการรับใหม่/รับย้าย ในผู้ป่วยประเภทที่ 4 และ 2 เท่ากับ 160.09 บาท และ 156.00 บาท 5. ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการบันทึกรายงานสูงสุด คือ การบันทึกรายงานการพยาบาลมีค่าเท่ากับ 86.90 บาทในผู้ป่วยประเภทที่ 4 6. สัดส่วนต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อหน่วยกับ ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจริงตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม มีค่าสัดส่วนสูงสุดคือ สัดส่วนร้อยละ 97.98 ในผู้ป่วยที่มีจำนวนวันนอน 15 วัน
Other Abstract: The two purposes of this descriptive research were to analyze the nursing activities cost during admission to discharge based on patient classification; and to find out the comparative result between nursing activities cost on patient classification and diagnosis related group allocation of patient at coronary care unit, Ramathibodi Hospital. Research samples consisted of 27 nursing staff, and 20 patients who admitted in coronary care unit during data collecting time. The research instruments were critical coronary patient classification checklist the activity definition of patient classification, the nursing activities checklist item, and the expense collecting form of DRGs allocated patients. All instruments wer tested for content validity and reliability. The major results of this study were as follows: 1. The highest unit cost of nursing activities based on patient classification was the patients in category 4, which is 3,790.70 bht. followed by patients in category 3, which is 2,165.69 bht. and patients in category 2, which is 1,495.77 bht. 2. The highest unit cost of nursing activities on type of activity was direct nursing care in the patients category 4, which is 2,571.12 bht. followed by patients in category 3, which is 1,444.31 bht. and patients in category 2, which is 909.87 bht. 3. The highest unit cost of direct nursing activities was nursing procedure in the patients category 3 and 2 were 1,008.36 and 1,001.68 bht. respectively. 4. The highest unit cost of indirect nursing activities was the preparation for admission and transfer in the patients category 4 and 2 were 160.09 and 156.00 bht. respectively. 5. The highest unit cost of nursing record was the nurse note in the patients category 4, which is 86.90 bht. 6. Teh proportion unit cost of nursing activities and the diagnosis related group allocation of patient is 97.98 percent of the patient having length of stay 15 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1973
ISBN: 9741763158
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.