Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19736
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพย์สิริ กาญจนวาสี | - |
dc.contributor.author | ทวีศิลป์ ศรีอักษร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-20T02:50:11Z | - |
dc.date.available | 2012-05-20T02:50:11Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19736 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปัจจัยนำด้านความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปัจจัยเอื้อด้านการเข้าถึงแหล่งขายอาหาร ปัจจัยเอื้อด้านสื่อโฆษณา ปัจจัยเสริมด้านครอบครัวและปัจจัยเสริมด้านเพื่อน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จำนวน 420 คน ได้แบบสอบถามคืนมา 420 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้วิจัยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยใช้สถิติ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้น ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครปฎิบัติเป็นประจำมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว ร้อยละ 84.8 พฤติกรรมการรับประทานผักใบเขียว ร้อยละ 76 และพฤติกรรมรับประทานผลไม้สด ร้อยละ 71.7 ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในทางลบของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มกาแฟ, ชานม, โอเลี้ยง หรือโกโก้ ร้อยละ 24.3 พฤติกรรมการเติมน้ำตาล น้ำปลาลงในอาหาร ร้อยละ 23.6 และพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจัด ร้อยละ 13.3 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประกอบด้วย ปัจจัยนำด้านความรู้(r=.176) และความเชื่อ(r=.180) เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และปัจจัยเสริมด้านครอบครัว(r=.480) และเพื่อน(r=.368) 3. ปัจจัยนำด้านความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ปัจจัยเสริมด้านครอบครัวและเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้ ร้อยละ 34.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this investigation were to study the affect of predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors towards food consumption behavior among the elderly in Bangkok Metropolis and to study the relationships between those factors and food consumption behavior. Four hundred and twenty questionnaires were personally distributed to the elderly and one hundred percent of questionnaires were returned. The data were then analyzed in terms of means percentages standard deviations including Pearson’s product moment correlation and multiple regressions were also applied in this study. The results were as follows: 1. There were mostly found three positive practices regarding food consumption behavior among the elderly in drinking 6-8 cups of water during the day (84.8%), consuming of green leaf vegetables (76%), and fresh fruits consuming (71.7%) respectively. However, there were also mostly found three negative behaviors regarding drinking coffee and tea (24.3%), strong taste consumption (13.3%) with habits of adding sugar and salt in their meals (23.6%). 2. There were found significantly at .01 in the relationship of food consumption behavior between predisposing factors regarding both knowledge (r=.176) and belief (r=.180) and reinforcing factors regarding family members(r=.480) and peer groups (r=.368). 3. Both predisposing factors regarding knowledge and belief and reinforcing factors regarding family members and peer groups in food consumption behavior were found significantly at .01 to predict food consumption behavior among the elderly (39.4%). | en |
dc.format.extent | 1572233 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.865 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- โภชนาการ | en |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Factors affecting food consumption behaviors of elderly in Bankok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Tipsiri.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.865 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taweesin_sr.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.