Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19742
Title: การศึกษาเปรียบเทียบความพอใจในการปฏิบัติงาน ของบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ กับบรรณารรักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย
Other Titles: A comparative study of job satisfaction of catalogers and reference librarians in university libraries in Thailand
Authors: อุไรพรรณ หล่อศิริ
Advisors: ทองหยด ประทุมวงศ์
ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
บรรณารักษศาสตร์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ กับบรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ 12 แห่ง ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือไม่รวมทั้งตรวจสอบสภาพความพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายรวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจในการปฏิบัติงานสูง และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่าย มีความพอใจในการปฏิบัติงานต่ำ วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีค้นคว้าจากหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และส่งแบบสอบถามไปยังบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ กับบรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามของหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย 12 แห่ง รวมทั้งสิ้น 90 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืน 85 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.44 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.บรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามมีความพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น ได้แก่ปัจจัยเกี่ยวกับการให้บริการแก่สังคม คือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยที่มีแนวโน้มว่าจะแตกต่างกันที่ระดับ .05 ได้แก่ปัจจัยเกี่ยวกับสถานภาพทางสังคมและสภาวะและความสะดวกต่างๆ 2.ปัจจัยสถานภาพทางสังคม บรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามมีแนวโน้มที่จะพอใจมากกว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ 3.ปัจจัยสภาวะและความสะดวกต่าง ๆ บรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือมีแนวโน้มที่พอใจมากกว่าบรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถาม 4.สภาพความพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามส่วนใหญ่สูงกว่าความพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ แต่ไม่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ปัจจัยต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจสูง คือ การร่วมงานกับเพื่อนร่วมงาน ความสัมฤทธิผลในการปฏิบัติงาน ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความมีอิสระในการปฏิบัติงาน 6.เมื่อจัดลำดับของความพอใจสูง บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจสูง ลำดับแรกเกี่ยวกับการร่วมงานกับเพื่อนร่วมงาน และมีความพอใจสูงลำดับสุดท้ายเกี่ยวกับความมีอิสระในการปฏิบัติงาน 7.บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายไม่มีความพอใจเกี่ยวกับสถานะภาพทางสังคม ความก้าวหน้าในฐานะและตำแหน่ง ค่าตอบแทนที่เหมาะสม นโยบายของห้องสมุดและการปฏิบัติการยอมรับนับถือ และหัวหน้างานที่สามารถและยุติธรรม 8.เมื่อจัดลำดับของความไม่พอใจ ความพอใจของบรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายไม่สัมพันธ์กัน เช่น บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายไม่พอใจสถานภาพสังคมเป็นลำดับแรก แต่ในด้านสภาวะและความสะดวกต่าง ๆ บรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถามไม่พอใจเป็นลำดับที่ 2 ในขณะที่บรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือไม่พอใจเป็นลำดับที่ 11 ข้อเสนอแนะ 1.ในด้านผู้บริหารห้องสมุด: 1.1ส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรณารักษ์มีโอกาสหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนงานกันได้ตามความสนใจ เพื่อขจัดปัญหาความเบื่อหน่ายในการทำงานจำเจด้านเดียว 1.2ปรับปรุงปัจจัยสภาวะและความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยตามความจำเป็นเพื่อสนองความต้องการของบรรณารักษ์ฝ่ายบริการตอบคำถาม 1.3สนับสนุนให้บรรณารักษ์ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสก้าวหน้าโดยเท่าเทียมกัน 2.ในด้านผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2.1ส่งเสริมและแก้ปัญหาสถานภาพของบรรณารักษ์ให้ทัดเทียมกับอาจารย์ 2.2จัดหางบประมาณและเงินอุดหนุนห้องสมุดให้มากขึ้น 3.โรงเรียนบรรณารักษ์ทุกแห่งควรจะปลูกฝังนิสิตนักศึกษาบรรณารักษ์ให้รู้จักและรักษาไว้ซึ่งปรัชญาบรรณารักษ์ ความภาคภูมิใจ และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ นอกเหนือจากการเรียนการสอน การฝึกงานตามห้องสมุดก็เป็นสิ่งสำคัญ นิสิตนักศึกษาบรรณารักษ์สามารถเรียนรู้และเข้าใจงานได้อย่างถูกต้อง เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นบรรณารักษ์สามารถเรียนรู้เข้าใจงานได้อย่างถูกต้อง เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นบรรณารักษ์ก็จะสามารถเลือกงานที่ตรงกับความต้องการ ความเบื่อหน่ายในการงานก็จะไม่บังเกิดขึ้น
Other Abstract: The purpose of this research was to study whether there was a significant difference in the level of job satisfaction between to catalogers and the reference librarians in 12 government university libraries at the .05 level. Besides that each factor of high and low level job satisfaction of those two groups of librarians were included. The research methods used in this thesis were both documentary research through books and other printed materials and 90 questionnaires distributed to the catalogers and reference librarians of 12 central government university libraries. 85 copies (99.44%) were returned. The results of the research were as follows: 1.Only one factor : social service (P<.05) was the aspect in which the reference librarians were more satisfied than the catalogers but social status and working conditions emerged with significant differences. 2.According to the social status aspect, the trend of the reference librarians’ satisfaction were higher than the catalogers. 3.Regarding working conditions, the trend of the catalogers’ satisfaction were higher than those of reference librarians. 4.Generally speaking the reference librarians’ job satisfaction were almost all higher than the catalogers in all aspects, but there were not significant differences. 5.Such factors : co-workers, supervision human relations, achievement, security, ability, and independence, the two groups of librarians were the more satisfied. 6.With regard to the level of high satisfaction, both groups of librarians were similarly satisfied. The first and the last high level of satisfaction were co-workers and independence respectively. 7.Both groups of librarians were unsatisfied with factors such as social status, advancement, compensation, library policy and practices, recognition, and supervision technical. 8.In accordance with the level of unsatisfaction, there was no relationship between the catalogers and the catalogers and the reference librarians because of those two groups were unsatisfied with the aspect of social status at the first level, but the reference librarians and the catalogers were unsatisfied with the working conditions aspect at the second and eleventh level respectively. Recommendations: 1.All library administrators should: 1.1remote and encourage the rotation of library work according to the librarians’ interest so as to diminish the problem of borromini working the same job all the time. 1.2Improve working conditions and acquire all of the necessary library equipment and modern reference tools of all kinds in order to meet the needs of the reference librarians. 1.3Promote the chance of equivalent advancement for both groups of librarlans. 2.All university administrators should: 2.1promote and improve professional librarians’ status to be as equal with university-lecturers. 2.2providea larger budget and more financial aid. 3.All library schools should stimulate their students to have and to hold the librarian philosophy, pride, and good attitude of the profession besides teaching and studying. Emphasizing library practice courses is all desirable. The students can learn and understand the routine of all library work directly. So when they might have chosen the job they like most. Working boredom would not occur.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19742
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uraipan_Lo_front.pdf593.3 kBAdobe PDFView/Open
Uraipan_Lo_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Uraipan_Lo_ch2.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Uraipan_Lo_ch3.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Uraipan_Lo_ch4.pdf936.87 kBAdobe PDFView/Open
Uraipan_Lo_back.pdf744.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.