Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19744
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียน กับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับขั้นปีและวิชาเอก ของนักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between learning styles and sex, academic achievement, calss level, and major subject of teachers college students in Bangkok metropolis |
Authors: | อุไรรัตน์ ศรีสวย |
Advisors: | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suwatana.S@chula.ac.th |
Subjects: | นักศึกษาวิทยาลัยครู นักศึกษา |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสภาพของรูปแบบการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนกับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นปี และวิชาเอกของนักศึกษาวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 566 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดรูปแบบการเรียนซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาและดับแปลงมาจาก แบบวัดการเรียนของนิสิต ของแอนโทนี กราส์ซา และเซอร์ริล ไรซ์แมนน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ( x )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าไคสแควร์ ( x^2) และหาขนาดของความสัมพันธ์ด้วยวิธีของ Cramer หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางโดยใช้ .05 เป็นระดับทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย 1.นักศึกษาของวิทยาครูในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะการเรียนแบบมีส่วนร่วมและแบบร่วมมือ อยู่ในเกณฑ์สูง มีลักษณะการเรียนแบบพึ่งพา แบบอิสระ และแบบแข่งขัน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง มีลักษณะการเรียนแบบหลีกเลี่ยงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ 2.รูปแบบการเรียนแบบพึ่งพา มีความสัมพันธ์กับเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีขนาดของความสัมพันธ์ 0.13 และนักศึกษาที่มีวิชาเอกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในรูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง และแบบพึ่งพา ส่วนรูปแบบการเรียนแบบอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นปี และวิชาเอกอย่างมีนัยสำคัญ ระดับชั้นปี และวิชาเอกมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการเรียนแบบพึ่งพา และแบบแข่งขัน 3. รูปแบบการเรียนแบบต่าง ๆส่วนมากมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับค่อนข้างต่ำ (.20 ≤r ≤.39) และในระดับปานกลาง (.40 ≤r ≤0.59) โดยเฉพาะรูปแบบการเรียนหลีกเลี่ยงกับแบบมีส่วนร่วมสัมพันธ์กันในทางลบ ( r = -0.43 )และรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมกับแบบร่วมมือ สัมพันธ์กันในทางบวก (r=0.52) |
Other Abstract: | The objectives of this study were (l) to study learning styles of teachers college students, (2) to study relationships between learning styles and sex, academies achievement, class level and major subject of teachers college students and (3) to study relationships among the various learning styles. 566 students were sampled from 6 teachers colleges in Bangkok Necropolis and were used as the sample of this study. The questionnaires that was used to collect the bate about learning styles was developed from the student learning styles questionnaire of Grashe and Reichmann. The data were analyzed by computing arithmetic means. Standard deviation, Chi-sqiare test. Crammer’s V coefficients, person Product Moment Correlation Coefficients a nd Two-way Analysis of Variance. The level of significance used throughout this study was .05. Research Findings 1.The student rated the participant and the collabe - lative learning styles at the high level, rated the independent, dependent and the competitive learning stylea at the medium level and rated the avoidance learning style at the low level. 2.The dependent learning style was significantly associated with sex. The Cramer’s V Coefficients of the associated was .13 The distributions of the avoidance learning style and the dependent learning style among various major subjects were not homogeneous. The class levels significantly interacted with the major subject in the dependent and the competitive learning styles. 3.Generally, the learning styles showed positive interrelations correlations at the low level (.20 ≤ r ≤ .39) and the medium level ( .40≤ r ≤ .59 ). The avoidance and the participant learning styles had a significant negative relation (r=-0.43). |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19744 |
ISBN: | 9745636029 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Urairat_Sr_front.pdf | 467.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_ch1.pdf | 440.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_ch2.pdf | 813.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_ch3.pdf | 459.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_ch4.pdf | 820.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_ch5.pdf | 508.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Urairat_Sr_back.pdf | 703.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.