Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1975
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะของตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่น เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between personal factors, social support, perceived self - efficacy and health promoting behaviors of adolescent students, Bangkok Metropolis
Authors: อภิญญา ปานชูเชิด, 2516-
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: วัยรุ่น -- สุขภาพและอนามัย
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ผลการเรียนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะของตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอายุระหว่าง 12-19 ปี ได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน จำนวน 433 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 3) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเอง 5) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบสอบถามส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89, .91, .83 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า : 1. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่นเขตกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 จากมาตรวัด 5 ระดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .37 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะในตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่น เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .17 และ .62 ตามลำดับ) ส่วนผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่น เขตกรุงเทพมหานคร อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this research were to study the relationship between personal factors, social support, perceived self-efficacy, and health promoting behaviors of adolescent student, Bangkok Metropolis. The sample consisted of 433 adolescent students selected by multistage sampling. The instruments were; 1) demographic questions, 2) self-esteem, 3) social support, 4) perceived self-efficacy, and 5) health promoting behaviors questionnaires. All instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of the instruments by Cronbarch's Alpha were .89, .91, .83 and .85 respectively. The data were analyzed by using SPSS for mean, standard deviation, and Pearson's product moment correlation. Major findings were as follows: 1. Health promoting behaviors of adolescent students, Bangkok Metropolis was at the medium level (mean score = 3.45 five level scale, SD. = .37). 2. Self-esteem, social support and perceived self-efficacy were significantly correlated with health promoting behaviors ofadolescent students, Bangkok Metropolis at the level of p = .05 (r = .62, .53 and .60 respectively). Grade wasn't significantly correlated with health promoting behaviors of adolescent students, Bangkok Metropolis.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1975
ISBN: 9745315834
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya.pdf38.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.