Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.authorวริษษา ชะม้อย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-20T08:18:13Z-
dc.date.available2012-05-20T08:18:13Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19781-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนแบบพหุวิภาค ระหว่างวิธีโครงสร้างความแปรปรวนร่วมและค่าเฉลี่ย (MACS) กับวิธีการวิเคราะห์ฟังก์ชันเชิงจำแนกแบบโลจิสติก (LDFA) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 5 ตัวเลือกที่มีคำตอบถูกหลายคำตอบ และให้ตัดสินทุกคำตอบ (Multiple True-false Answer) เงื่อนไขที่ศึกษา ได้แก่ (1) ความยาวของแบบสอบ มี 2 ระดับ คือ แบบสอบที่ตรวจให้คะแนนหลายค่าที่มีจำนวน 30 ข้อ และ 40 ข้อ และ (2) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง มี 3 ระดับ คือ 200 คน, 500 คน และ 1,000 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 พบว่าทั้ง 6 เงื่อนไขของการทดสอบ วิธี LDFA มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 อยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 15.6 และวิธี MACS มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 อยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 8.3 ถึงร้อยละ 21.9 โดยที่วิธี LDFA เกือบทุกเงื่อนไขมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนวิธี MACS พบว่าส่วนใหญ่มีค่าเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และพบว่าทั้งวิธี LDFA และวิธี MACS จะมีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในเงื่อนไขความยาวแบบสอบ 30 ข้อต่ำกว่าเงื่อนไขความยาวแบบสอบ 40 ข้อทุกเงื่อนไข 2. เมื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบ พบว่า ทั้ง 6 เงื่อนไขของการทดสอบ วิธี LDFA มีอำนาจการทดสอบอยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 62.5 ถึงร้อยละ 100 และวิธี MACS มีค่าอำนาจการทดสอบอยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 37.5 ถึงร้อยละ 100 และพบว่าทั้งวิธี LDFA และวิธี MACS จะมีอำนาจการทดสอบในเงื่อนไขความยาวแบบสอบ 30 ข้อสูงกว่าเงื่อนไขความยาวแบบสอบ 40 ข้อทุกเงื่อนไขen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to compare the efficiency in detecting Differential Item Functioning of Polytomous items between Mean and Covariance Structures method (MACS) and Logistic Discriminant Function Analysis method (LDFA). The sample group of study was secondary students in academic year 2007 under the Office of the Basic Education Commission, Bangkok. The instruments were two Multiple True-False Answer Mathematic achievement tests. The conditions were, firstly, the length of tests: 30 and 40 items and, secondly, the group sizes: 200, 500 and 1,000 students. The results of experiment found that: 1. Comparison with 6 conditions, LDFA method had type I error rates around 0% - 15.6% and MACS method had type I error rates around 8.3% - 21.9%. Almost all conditions of LDFA method were lower than criteria of type I error rates but almost all conditions of MACS method were higher than criteria of type I error rates. In addition, type I error rates of both methods in conditions of the length of tests 30 items were lower than type I error rates in conditions of the length of tests 40 items. 2. Comparison with 6 conditions, LDFA method had powers of test around 62.5% - 100% and MACS method had powers of test around 37.5% - 100%. In addition, the powers of test of both methods in conditions of the length of tests 30 items were higher than the powers of test in conditions of the length of tests 40 items.en
dc.format.extent1972238 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.989-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข้อสอบ -- วิจัยen
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนแบบพหุวิภาคระหว่างวิธีโครงสร้างความแปรปรวนร่วมและค่าเฉลี่ย กับวิธีการวิเคราะห์ฟังก์ชันเชิงจำแนกแบบโลจิสติกen
dc.title.alternativeComparisons of the efficiency in detecting differential item functioning of polytomous items between mean and covariance structures method and logistic discriminant function analysis methoden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNuttaporn.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.989-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waritsa_Ch.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.