Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19812
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และในรายงานการวิจัยของอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Journal citation analysis in master's theses and in lecturers' research reports of the faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University
Authors: กิ่งแก้ว วัฒนาเดชาพร
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Panpimon.K@Chula.ac.th
Subjects: เภสัชศาสตร์ -- วารสาร
เภสัชศาสตร์ -- วิจัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษารายชื่อ ความถี่ ขอบเขตเนื้อหาวิชา อายุภาษา ตลอดจนเปรียบเทียบรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาเภสัชศาสตร์กับรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในรายงานการวิจัยของอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ และเปรียบเทียบรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างอิงรายชื่อวารสารที่มีในห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีวิเคราะห์การอ้างอิงถึงวารสารที่ปรากฏในบรรณานุกรมท้ายเล่มของวิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิตตั้งแต่ พ.ศ. 2516 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2526 และรายงานการวิจัยของอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2526 รวมจำนวนทั้งสิ้น 198 เล่ม ผลการวิจัยเสนอในรูปแบบแจกแจงความถี่ และร้อยละซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ จากจำนวนวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย 198 เล่ม มีปริมาณการอ้างถึง 11,129 ครั้ง เป็นการอ้างถึงวารสาร 7,982 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 71.72 จากปริมาณการอ้างถึงวารสารดังกล่าวเป็นการอ้างถึงที่มีรายละเอียดทางบรรณานุกรมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ 7,263 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 65.26 และในรายงานการวิจัย 692 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.22 ในการศึกษารายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงพบว่า วารสารที่ได้รับการอ้างถึงมีจำนวนทั้งสิ้น 797 ชื่อ แยกออกเป็นวารสารภาษาไทย 54 ชื่อ และวารสารภาษาต่างประเทศ 743 ชื่อ โดยวารสารศิริราช เป็นวารสารภาษาไทย ที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดในรายงานการวิจัยวารสารภาษาต่างประเทศที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดทั้งในวิทยานิพนธ์และในรายงานการวิจัย คือ Chemical Abstracts วารสารที่มีขอบเขตเนื้อหาวิชาในหมวดหมู่ย่อยเภสัชกรรมและเภสัชวิทยา ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดทั้งในวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยคิดเป็นร้อยละ 29.18 และ 38.44 ตามลำดับ รวมทั้งวารสารใหม่ที่มีอายุในช่วง 0-5 ปี จะได้รับการอ้างถึงมากที่สุดทั้งในวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยคิดเป็นร้อยละ 25.86 และ 27.17 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยอ้างถึงวารสารภาษาอังกฤษมากกว่าวารสารภาษาไทย วารสารที่ได้รับการอ้างถึงมาก 20 ชื่อแรกในวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยมีความสัมพันธ์กัน และห้องสมุดมีวารสารที่ได้รับการอ้างถึง 73 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 9.16 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ในการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสาร อันได้แก่ การคัดเลือก การจัดหา การจัดเก็บ และการให้บริการให้สอดคล้องกันความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
Other Abstract: The main purpose of this analysis is to study the list of journals, frequency, subjects, time span and languages of cited journals in Master’s Theses ad lecturers’ research reports of the Faculty of Pharmaceutical Sciences. This study also aims at comparing the list of cited journals in Theses and the list of cited journals in lecturers’ research reports and comparing the cited journals with the journals in the Faculty of pharmaceutical Sciences Library. The data used in this analysis were collected from bibliographies that were listed in 148 Theses published between 1973-1983 and in 50 lectures’ research reports published between 1972-1983. There were 11,129 references cited in both Theses and research reports. The analysis further shows that there were 7,982 references from journals or equivalent to 71.72 per cent of the total references. 7,955 items of those journals references containing complete bibliographical descriptions were used in conducting this detailed analysis. In the study of referenced journals by title and by language, the analysis indicates that 54 titles in Thai and 743 are in English, respectively, the Thai journal that has the highest frequent reference in theses is Siriraj Hospital Gazette and in research reports is Chieang Mai Medical Bulletin while the English journal is Chemical abstracts. According to the subject, the medical subject has the highest reference in both theses and research reports or 68.15 and 69.65 per cent of the total recently published journals within the last 5 years, are most frequently cited and the English journals and more frequently cited than Thai journals. There is correlation between the cited journals in these and in research reports. The results of the study can be used as guidelines for librarian at the Faculty of Pharmaceutical Sciences Library in developing working systems pertaining to selection, acquisition and storage of journals and services with more efficiency and toward greater fulfillment of the users’ need. In addition, these guidelines can be used in making appropriate indexes and abstracts from the most frequently cited journals.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19812
ISBN: 9745649015
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kingkaew_Wa_front.pdf474.58 kBAdobe PDFView/Open
Kingkaew_Wa_ch1.pdf731.85 kBAdobe PDFView/Open
Kingkaew_Wa_ch2.pdf698.24 kBAdobe PDFView/Open
Kingkaew_Wa_ch3.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Kingkaew_Wa_ch4.pdf711.09 kBAdobe PDFView/Open
Kingkaew_Wa_back.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.