Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ-
dc.contributor.authorรวิพรรณ จารุทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-27T02:08:57Z-
dc.date.available2012-05-27T02:08:57Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19891-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษามูลเหตุของการก่อตั้ง สถานะ และการดำเนินงานของโรงเรียนจีน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนจีน กับรัฐบาลสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นปีที่พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 มีผลบังคับใช้ จนถึงปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยศึกษาเฉพาะมณฑลกรุงเทพฯ การศึกษาในครั้งนี้มีสมมติฐานว่า โรงเรียนจีนเป็นสถาบันที่ทำให้ลูกหลานชาวจีนในสังคมไทยสามารถรักษาความเป็นจีนไว้ได้ โดยผ่านการสอนภาษาและเผยแพร่ลัทธิชาตินิยมจีน ซึ่งทำให้รัฐสยามไม่พอใจ จนนำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อควบคุมโรงเรียนจีน ส่งผลให้โรงเรียนจีนต่อต้านและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้น ผลการศึกษาพบว่า บริบททางการศึกษาและบริบททางการเมืองในประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลมากต่อการก่อตั้งโรงเรียนจีนในสยาม และการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งสอนแต่ภาษาจีนเพียงอย่างเดียวโดยไม่สอนภาษาไทย รวมถึงการสอนลัทธิชาตินิยมการเมืองจีน เพื่อรักษาความเป็นจีนเอาไว้ให้กับลูกหลาน จากพฤติกรรมต่างๆ ของโรงเรียนจีน ทำให้ฝ่ายสยามเกิดความกลัวและความหวาดระแวง จึงได้วางนโยบายการควบคุมโรงเรียนจีน โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อบังคับให้ภายในโรงเรียนจีนมีการสอนภาษาไทย ไม่ให้มีการสอนลัทธิทางการเมืองซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ และต้องการให้ชาวจีนเป็นพลเมืองของสยามที่ดีดังเดิม ผ่านการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 โรงเรียนจีนได้กระทำการต่างๆ ที่ฝ่าฝืนกฎพระราชบัญญัตินี้อยู่เสมอ อย่างไรก็ดี การควบคุมโรงเรียนจีนของรัฐบาลสยามนั้น ถือได้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดผู้มีความรู้ โดยเฉพาะด้านภาษาจีน รวมถึงการลงโทษที่ไม่เข้มงวดเด็ดขาด เนื่องจากกลัวไปกระทบกระเทือนความไม่พอใจของชาวจีนผู้กุมเศรษฐกิจในสยามen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this dissertation is to study the status, establishment and administration of Chinese schools in Monthon Krungthep and their relation with the Siamese government from 1918 (Private School Act effected) until 1932, when a revolution transformed Siam from an absolute to a constitutional monarchy. Chinese schools in Siam were educational institutes, which taught children the language of their ancestral homeland and assumingly, Chinese nationalism. For this reason, the Siamese government promulgated laws to control Chinese schools, resulting in further violations of such laws and regulations from the Chinese. Findings reveal that educational and political values, which China embodied during that period, strongly influenced Chinese schools in Siam. By ruling out Thai in the curriculum and concentrating on the Chinese language and political teachings - this became a great threat to the Siamese government. As a result the Private School Act of 1918 was introduced. This law made the Thai language an integral part of the educational system and also banned the teaching of Chinese political values, which the Siamese government thought would greatly endanger Siam’s socio-political stability. However, The Siamese government were unable to fully control Chinese educational establishments because they lacked scholars of Chinese languages as well as the weakly enforced penalties put in place. This was due to the government’s fear of the wealthy Chinese who dominated the economy of Siam.en
dc.format.extent3662677 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1139-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนจีน -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectชาวจีน -- ไทย-
dc.subjectพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461-
dc.titleโรงเรียนจีนในมณฑลกรุงเทพฯ พ.ศ. 2461-2475en
dc.title.alternativeChinese school in Monthon Krungthep, 1918-1932en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthachai.Y@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1139-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ravipan_ja.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.