Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19897
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีณา จีระแพทย์-
dc.contributor.authorพัชรพร รัตนสงคราม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-28T04:05:23Z-
dc.date.available2012-05-28T04:05:23Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19897-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนด ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมการบีบเก็บน้ำนม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และปัจจัยด้านการรับรู้ของมารดาต่อการบีบเก็บน้ำนม ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารก การรับรู้ความรุนแรงของภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนด และการรับรู้ประโยชน์จากการบีบเก็บน้ำนมและการรับรู้อุปสรรคต่อการบีบเก็บน้ำนม ตามกรอบแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพของ Becker กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาจำนวน 140 ราย ที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลของรัฐ จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วนคือ แบบสอบถามปัจจัยส่งเสริมการบีบเก็บน้ำนม แบบสอบถามการรับรู้ของมารดาต่อการบีบเก็บน้ำนมและแบบสอบถามพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .80 และ .90 ตามลำดับและมีค่าความเที่ยงโดยวิธีแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.77 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไบซีเรียลสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดอยู่ในระดับดี (X= 3.20, SD=.32) 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารก การรับรู้ประโยชน์จากการบีบเก็บน้ำนม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (r= 0.225, 0.244 ตามลำดับ) 3. การรับรู้ประโยชน์จากการบีบเก็บน้ำนม สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดได้ร้อยละ 6 (R2 =.060) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบมาตรฐานได้ดังนี้ Zˆพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนม = .244 Zการรับรู้ประโยชน์จากการบีบเก็บน้ำนมen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to explore milk expression behaviors, examined the relationships and predictive factors between modifying factors to promote milk expression, number of pregnancy, perception toward the susceptibility, severity, benefit and barrier of milk expression behavior in mothers of premature infants. A conceptual framework used in this study was the Health Belief Model (Becker, 1974). Samples were 140 mothers of premature infants whose premature infants were admitted at the Neonatal intensive care unit and premature infant unit in a government hospital and were recruited by simple random sampling technique. Research instrument included three parts of the demographic data, modifying factors, health perceived of milk expression behavior and milk expression behavior questionnaires. The questionnaires were tested for the content validity by a panel of experts and CVI were .80 and .90, respectively. The Cronbach’s alpha reliability were .77 and .80, respectively. Data were analyzed by mean, standard deviation, Pearson’s correlation, Spearman correlation, Biserial correlation, Point biserial correlation and stepwise multiple regression. The major findings were as follows: 1. Milk expression behaviors in mothers of premature infants was at high level (X= 3.20, SD=.32). 2. Perceived susceptibility and perceived benefit were significantly positive correlated with milk expression behaviors at the level of .01 (r= 0.225, 0.244, respectively). 3. Perceived benefit was significantly predicted the milk expression behaviors in mothers of premature infants at the level of.01. The predictive could explain 6 percent of the total variance (R2 =.060). The standardized prediction equation is as follows. Zˆmilk expression behavior = .244 Z perceived benefiten
dc.format.extent1693222 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1254-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en
dc.subjectทารกคลอดก่อนกำหนดen
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดen
dc.title.alternativePredictors of milk expression behavior in mothers of premature infantsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVeena.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1254-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharaporn_ra.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.