Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19930
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | สหกมล ผานามอญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เลย | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-28T14:05:29Z | - |
dc.date.available | 2012-05-28T14:05:29Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19930 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและเผยแพร่ชุดความรู้แก่คนในชุมชน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเผยแพร่ชุดความรู้ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็น การตอบรับ สนับสนุนหรือคัดค้าน ของคนในชุมชน ในการจัดตั้ง “จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน” ขึ้นในชุมชน 4) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 5) เพื่อหาแนวร่วม หรืออาสาสมัครในงานวิทยุชุมชนในทางอ้อม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการสัมภาษณ์แบบอิงโครงสร้าง และวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีขั้นตอนการศึกษาวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การจัดทำชุดความรู้/ เครื่องมือ/ แนวคิด, ขั้นที่ 2 การนำเสนอชุดความรู้/ เครื่องมือ/ แนวคิด ขั้นที่ 3 การวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) การทดสอบประสิทธิผลของเครื่องมือ 2) การสำรวจความคิดเห็นต่อการจัดตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนขึ้นในชุมชน จากกระบวนการศึกษาวิจัย ได้ผลดังนี้ ขั้นที่ 1 ผู้วิจัยจัดทำชุดความรู้/ เครื่องมือ/ แนวคิดที่เกี่ยวกับวิทยุชุมชน โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) ความหมายและลักษณะของวิทยุชุมชน 2) การบริหารจัดการวิทยุชุมชน 3) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับวิทยุชุมชน 4) บทบาทหน้าที่และประโยชน์ของวิทยุชุมชน ขั้นที่ 2 ผู้วิจัยทำการเผยแพร่ชุดความรู้ดังกล่าวแก่คนในชุมชน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า วิธีการที่ใช้ในการเผยแพร่แนวคิดที่ได้ผลดีต้องจัดแบ่งรูปแบบการเผยแพร่ให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ใช้การอธิบายประกอบสื่อแผนภาพสลับกับการสอนร้องเพลงและทำท่าทางประกอบ 2) กลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและกลุ่มบุคคลในองค์กร ใช้การอธิบายประกอบสื่อแผนภาพ 3) กลุ่มชาวบ้านทั่วไป ใช้การเดินสายตามหมู่บ้านเพื่ออธิบายให้ชาวบ้านฟังพร้อมกับตอบข้อซักถามต่างๆด้วยตัวผู้วิจัยเองโดยตรง ขั้นที่ 3 หลังจากที่ได้เผยแพร่แนวคิดแล้ว จึงทำการทดสอบประสิทธิผลของเครื่องมือด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม คนในชุมชนจากทั้งตำบลบุฮมและตำบลเขาแก้ว มีการรับรู้เรื่องวิทยุชุมชนในระดับที่ดี แต่มีประเด็นที่เกี่ยวกับการโฆษณาที่คนในตำบลบุฮมยังมีความสับสนอยู่มาก และควรได้รับการปรับปรุงในอนาคต จากนั้นจึงทำการสำรวจความคิดเห็นต่อการจัดตั้ง “จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน” ขึ้นในชุมชน พบว่า คนในชุมชนจากทั้งสองตำบลส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการจัดตั้ง “จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน” ขึ้นในชุมชน จากกระบวนการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อค้นพบเรื่องกระบวนการเตรียมการจัดตั้งวิทยุชุมชนขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งยังไม่เคยมีปรากฏมาก่อน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่จัดเจน ดังนี้ 1) สร้างชุดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยุชุมชน 2) เผยแพร่ชุดความรู้ 3) วัดระดับความรู้ 4) สอบถามความคิดเห็น | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research work are 1) to create and publicize a set of knowledge/ tools/ ideas for members in the community; 2) to evaluate the efficiency and effectiveness of the presentation or publication of the set of knowledge/ tools/ ideas; 3) to survey on local people’s opinions, acceptance, supports or protests to the establishment of the “community radio learning center”; 4) to promote participatory communication of local people in the community; and 5) to get supporters or volunteers who indirectly work for the community radio. This research work is an interdisciplinary study. The methodology of this piece of research consists of the qualitative method that uses structural interviews and the quantitative method that uses a set of questionnaire. This research work is done in three steps. The first step is to establish a set of knowledge/ tools/ ideas. The second step is to present the set of knowledge/ tools/ ideas. The final step is a survey research which consists of two activities, i.e., 1) a test for effectiveness of research tools and 2) the survey on the samples’ opinions on the establishment of community radio learning center. The research results are as follows: Step 1: The researcher’s creation of a set of knowledge/tools/ideas concerning the community radio retains significant issues including 1) meaning and characteristic of community radio; 2) management for community radio; 3) local people’s participation to community radio; and 4) roles of and advantages from community radio. In step 2, the created set of knowledge is publicized to local people in the community. The results show that each of the three groups of samples can be well impacted by different ways of publication. That is 1) the group of primary school students can be well impacted by the explanation with pictorial charts, along with songs and dances; 2) the group of secondary school students and staffs of organizations can be well affected by the explanation with pictorial charts; and 3) the group of general people can be well impacted by the actual visit and the face-to-face explanation that allows them to directly ask the researcher. In step 3, after the ideas have been publicized, the effectiveness of tools is tested with a set of questionnaire and interviews. The results show that, in the overview, the awareness of local people of the two tambons (sub-districts) is in a good level. However, people in Tambon Buhom are still remarkably confused with the advertisement, which needs further improvement. Afterwards, the survey on opinions on the establishment of “community radio learning center” is carried out. The results show that most local people of both tambons want the establishment of “community radio learning center” in their communities. The output from this research is a systematic preparatory process for the establishment of “community radio learning center”. This phenomenon has never occurred before. The process consists of four precise steps, i.e., 1) creating a set of knowledge on community radio: 2) publicizing the set of knowledge; 3) evaluating the level of knowledge; and 4) gleaning opinions. | en |
dc.format.extent | 2641787 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.518 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วิทยุชุมชน -- ตำบลเขาแก้ว (เลย) | - |
dc.subject | วิทยุกระจายเสียง -- แง่สังคม -- ตำบลเขาแก้ว (เลย) | - |
dc.subject | วิทยุชุมชน -- ตำบลบุฮม (เลย) | - |
dc.subject | วิทยุกระจายเสียง -- แง่สังคม -- ตำบลบุฮม (เลย) | - |
dc.title | การสื่อสารเพื่อเตรียมการจัดตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนตำบลบุฮมและตำบลเขาแก้ว จังหวัดเลย | en |
dc.title.alternative | Communication in the establishment of community radio learning center at Tambon Buhom and Tambon Khao Kaeo, Loei province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kanjana.Ka@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.518 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sahakamon_ph.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.