Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19952
Title: การเปรียบเทียบสมรรถภาพการจับอ๊อกซิเจนสูงสุดก่อนและขณะมีรอบเดือน
Other Titles: A comparison of the msximal oxygen uptake capacity before and during menstruation
Authors: ถนอมวงศ์ ทวีบูรณ์
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ออกซิเจน
ระดู
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดก่อนและขณะมีรอบเดือน ผู้ถูกทดลองเป็นนักศึกษาหญิงวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จำนวน 37 คน จากชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ซึ่งมีสุขภาพปกติ อายุเฉลี่ย 18.16 ปี ความสูงเฉลี่ย 153.55 เซนติเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 50.93 กิโลกรัม ซึ่งได้ผ่านการศึกษาประวัติการมีรอบเดือนของตนเองมาแล้ว 2 เดือน และไม่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงในขณะมีรอบเดือน ก่อนการทดลองทุกคนต้องทดสอบเบื้องต้นโดยขี่จักรยานวัดงานแบบโมนาร์ด เพื่อหาแรงกดสายพานที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยเริ่มจากแรงกดสายพาน 1.5 กิโลปอนด์ และเพิ่มอีก 0.5 กิโลปอนด์ ทุก ๆ 2 นาที จนกระทั่งได้แรงกดสายพานที่เหมาะสมเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นระหว่าง 130-150 ครั้งต่อนาที ผู้ถูกทดลองแต่ละคนต้องเข้ารับการทดลองโดยถีบจักรยานวัดงานคนละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 2 ของการมีรอบเดือน และวันที่ 14 นับจากวันแรกของการมีรอบเดือน การทดลองเริ่มกระทำหลังจากผู้ทดลองรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายมาแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และผู้ถูกทดลองชั่งน้ำหนัก และนั่งพักในห้องอุณหภูมิปกติเป็นเวลา 10 นาที วัดอุณหภูมิกาย (ทางปาก) วัดความดันโลหิต และนับอัตราการเต้นของหัวใจ ผู้ถูกทดลองถีบจักรยานวัดงาน โดยใช้แรงกดสายพานที่เหมาะสม และให้กระไดจักรยานหมุนไป 50 รอบต่อนาที เป็นเวลาประมาณ 6 นาที นับอัตราการเต้นของหัวใจทุกนาที จนอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในภาวะอยู่ตัวในนาทีที่ 5 หรือ 6 แล้วนำอัตราการเต้นของหัวใจที่ได้นี้ ไปเปิดตารางหาค่าสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ตามวิธีของเพอร์ โอลอฟ ออสตรานต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า “ที” ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของผู้ถูกทดลองในระยะก่อนมีรอบเดือนและขณะมีรอบเดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อัตราการเต้นของหัวใจในภาวะอยู่ตัวของผู้ถูกทดลองในระยะก่อนมีรอบเดือนและขณะมีรอบเดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สภาพร่างกายก่อนออกกำลังกาย เช่น น้ำหนักตัว อุณหภูมิกาย ความดันโลหิต ในระยะก่อนมีรอบเดือนและขณะมีรอบเดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. อัตราการเต้นของหัวใจก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกาย และระยะฟื้นตัว ในระยะก่อนมีรอบเดือนและขณะมีรอบเดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the maximal oxygen uptake capacity before and during menstruation. Subjects were 37 healthy girl students in the first and second year of Burirum teacher college, with the average age of 18.16 years, height 153.55 centimetres, and weight 50.93 kilograms. Subjects’ menstrual histories were observed for 2 months and no sign of dysmenorrhea. Prior to the experiment, each subject had to undertake preliminary test to find out the suitable work load by pedaling the Monark bicycle ergometer. Preliminary test began with average of 1.5 kilopounds work load, and then 0.5 kilopounds work load were added for every 2 minutes until a suitable work load was established when subject’s heart rate reached 130-150 beats per minute. Each subject pedaled the bicycle ergometer twice. First, in the second day of the menstruation, and second, in the fourteenth after the first day of having it. The experiment started at least 3 hours after the jast meal. Prior to the experiment, the subjects were weighed and seated for 10 minutes before the temperatures (mouth), blood pressure and heart rate were obtained. The subjects pedaled the bicycle ergometer by using the suitable work load with 50 cycles per minute for 6 minutes. The heart rate was counted each minute till it reached a steady state at the fifth or sixth minute. The maximal oxygen uptake capacity was recorded according to astrand’s method. Data were analyzed by t-test. Results indicated that : 1. There was no significant difference in the maximal oxygen uptake capacity before and during menstruation. (p>.05) 2. There was no significant difference in heart rate at the steady state before and during menstruation. (>.05) 3. There was no significant difference in body condition, such as weight, body temperature and blood pressure before and during menstruation. (p>.05) 4. There was no significant difference in heart rate before exercise, during exercise and recovery before and during menstruation. (p>.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19952
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanomwong_Ta_front.pdf418.12 kBAdobe PDFView/Open
Thanomwong_Ta_ch1.pdf672.06 kBAdobe PDFView/Open
Thanomwong_Ta_ch2.pdf324.19 kBAdobe PDFView/Open
Thanomwong_Ta_ch3.pdf382.38 kBAdobe PDFView/Open
Thanomwong_Ta_ch4.pdf297.12 kBAdobe PDFView/Open
Thanomwong_Ta_back.pdf520.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.