Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19994
Title: | ตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กร |
Other Titles: | Corporate image indicators |
Authors: | ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา |
Advisors: | ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Yubol.B@chula.ac.th |
Subjects: | ภาพลักษณ์องค์การ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “ตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กร” มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัดองค์กรเพื่อใช้ในการประเมินภาพลักษณ์องค์กร และนำกลุ่มตัวชี้วัดที่ได้จัดตามความเหมาะสมขององค์กรมาทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ในการประเมินภาพลักษณ์องค์กร ขององค์กร 2 กลุ่ม จำแนกออกเป็น 12 ประเภท คือ 1. องค์กรที่มุ่งเน้นธุรกิจบริการ ได้แก่ สถาบันการเงิน/การธนาคาร, คมนาคม, โทรคมนาคม, สถานพยาบาล/โรงพยาบาล, และ 2. องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้า จำแนกออกเป็น (1) องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงองค์กร ได้แก่ องค์กรที่ผลิตจัดจำหน่ายเชื้อเพลิง และองค์กรที่ดำเนินกิจการอสังหาริมทรัพย์ (2) องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ได้แก่ องค์กรที่ผลิตจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และองค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายรถยนต์ และ (3) องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องต่ำ (low-involvement) ได้แก่ องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค และองค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายอาหาร/เครื่องดื่ม โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิธีการเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) และการสัมภาษณ์รายบุคคล (personal interview) เพื่อพัฒนาเป็นรายข้อคำถามที่ใช้ในแบบสอบถามในการวิจัยเชิงสำรวจ ในการระยะที่ 2 วิธีการเชิงปริมาณเป็นระยะที่ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างองค์กรละ 200 ตัวอย่าง มีองค์กรทั้งหมด 12 ประเภท รวมจำนวนทั้งหมด 2,400 ตัวอย่าง ที่เคยใช้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับองค์กรดังกล่าวและพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดองค์กรแต่ละประเภท จากนั้นนำองค์ประกอบตัวชี้วัดดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องของรายข้อคำถาม (ตรวจสอบค่า IOC) เพื่อคัดเลือกรายข้อคำถามที่เหมาะสมสอดคล้องในการประเมินภาพลักษณ์องค์กร พร้อมทั้งประเมินค่าความสำคัญของรายข้อคำถามและองค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรเพื่อจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรที่ใช้ในการประเมินองค์กรแต่ละประเภท ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร 5 ประเด็น คือ (1) ความน่าเชื่อถือขององค์กร (2) บุคลาการ (3) สินค้า (4) บริการและ (5) การส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า องค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรที่มีร่วมขององค์กรทั้ง 12 ประเภท คือ ความน่าเชื่อถือขององค์กร องค์กรที่มุ่งเน้นธุรกิจบริการมีองค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรร่วมกัน คือ (1) ประสิทธิภาพ/การควบคุมคุณภาพการบริการ และ (2) บุคลากรที่มีคุณภาพ และความสำเร็จขององค์กร องค์กรที่ผลิต/ จัดจำหน่ายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงองค์กรมีองค์กรประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรร่วมกัน คือ (1) คุณภาพและคุณธรรม และ (2) บุคลากรที่มีคุณภาพและความสำเร็จขององค์กร องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีองค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรร่วมกัน คือ (1) การควบคุมคุณภาพ (2) คุณธรรม จริยธรรม และ (3) ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี/นวัตกรรม (4) การส่งเสริมการขาย และการสื่อสารองค์กร องค์กรที่ผลิต/จัดจำหน่ายสินค้า ที่มีความเกี่ยวข้องต่ำมีองค์ประกอบตัวชี้วัดภาพลักษณ์องค์กรร่วมกัน คือ (1) การควบคุมคุณภาพ/คุณภาพของสินค้า (2) ความภักดี/ความนิยมของสินค้า/องค์กร และ (3) คุณธรรม จริยธรรม/ความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้บริโภค |
Other Abstract: | The purpose of the research “Corporate Image Indicators” is grouping the indicators, which used to evaluate the corporate image and test their ability in applying for the evaluation of 2 corporate groups image (classified into 12 categories). 1. Organization focused on business services for example financial/banking, transportation, telecommunications, and hospital. 2. Organization focused on production/distribution divided into 2.1.Organizations that produce/distribute products that is relevant to corporate reputation such as gas production and real estate. 2.2. Organizations that produce/distribute products that are related to technology such as electrical & appliances, automotive. 2.3. Organizations that produce/distribute products that are low-involvement to corporate reputation such as alcohol, food & beverages, consumer products. Researcher conducted two-period research. Period 1 qualitative method, conducted by interviewing both focus group and personal. For developing a list of questions in the questionnaire used in survey research. Period 2 quantitative method, conducted by survey research. The data was collected from 200 samples in each organization, 12 organizations, totally 2,400 samples. All the samples have been used or have experience with the organization and stay in Bangkok, analyzing indicators, then expertise check the consistency of the question (IOC value) and select the appropriate questions which are suitable for corporate image. Evaluate the importance of each question and a corporate image component indicator. Prioritize the elements of a corporate image that indicators used to evaluate organization. Qualitative data analysis showed the 5 perceived image of Organization (1) the credibility of the organization (2) People (3) Products (4) Service (5) corporate image promotion. Quantitative data analysis showed integral component of total 12 corporate group images is the credibility of the organization. The integral components of service business are (1) effective control of service quality. (2) qualified people and the succession of the organization. The integral components of organizations that produce/distribute products which is relevant to corporate reputation are (1) Quality and integrity. (2) qualified people and the succession of the organization. The integral components of organizations that produce/distribute products which are related to technology are (1) Quality control (2) Integrity (3) Leadership in technology / innovation (4) Promotion and corporate communications. The integral components of organizations that produce/distribute products which are produce/distribute products that are low-involvement to corporate reputation are (1) Quality control / quality of goods. (2) Loyalty / popularity of the product / organization. (3) Ethics / responsibility to social and customer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19994 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.627 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.627 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supparerk_po.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.