Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20012
Title: | การจัดตารางเดินเรือขนส่งสินค้าเทกองภายใต้เงื่อนไขความคับคั่งบริเวณท่าเรือ |
Other Titles: | Bulk cargo vessel scheduling under port congestion condition |
Authors: | วิรุฬ กองเสริมทรัพย์ |
Advisors: | มาโนช โลหเตปานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manoj.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การขนส่งสินค้า การขนส่งทางน้ำ การเลือกเส้นทาง -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การกำหนดลำดับงาน -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การขนส่งสินค้า Route choice -- Mathematical models Scheduling -- Mathematical models |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การขนส่งสินค้าทางทะเลเป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าหลักของระบบการค้าระหว่างประเทศที่สร้างรายได้จำนวนมากให้แก่ประเทศ ประกอบกับลักษณะการลงทุนในธุรกิจเดินเรือที่มีมูลค่าสูงและภาวะการแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการ ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพยากรเรือมีความสำคัญต่อธุรกิจเดินเรืออย่างมากทั้งในด้านของการลงทุนเพื่อจัดหาเรือใหม่และการบริหารจัดการเรือที่มีอยู่ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และขั้นตอนในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางเดินเรือสำหรับเรือขนส่งสินค้าเทกองแบบเต็มลำ ภายใต้เงื่อนไขสภาวะการดำเนินงานจริง โดยแนวคิดในการแก้ปัญหาจะเป็นการควบรวมขั้นตอนการวางแผนจัดเส้นทางเดินเรือและการจัดตารางเดินเรือเข้ามาอยู่ในขั้นตอนการวางแผนเดียว นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงปัญหาความคับคั่งบริเวณท่าเรือซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การดำเนินการจริงไม่สอดคล้องกับแผนตารางเดินเรือที่วางไว้ ปัญหาดังกล่าวยังก่อให้เกิดต้นทุนในด้านต่างๆ ทั้งในด้านต้นทุนดำเนินการและต้นทุนความเสี่ยง ในส่วนของการวิธีการแก้ปัญหาจะใช้วิธีกำเนิดสดมภ์และวิธีกำเนิดแถวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหาผลเฉลย รวมไปถึงการทดสอบ และเปรียบเทียบผลการจัดตารางเดินเรือด้วยวิธีการเดิมกับผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองของงานวิจัยนี้จากการทดสอบพบว่าแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ปัญหาการจัดตารางเดินเรือขนส่งสินค้าเทกองภายใต้เงื่อนไขความคับคั่งบริเวณท่าเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เวลาที่เหมาะสม และพบว่า 2 ใน 3 ของชุดปัญหาจากการดำเนินการจริงที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จะสามารถแก้ได้ด้วยแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ โดยตารางเดินเรือที่ได้ให้ผลกำไรที่มากกว่าและหลีกเลี่ยงปัญหาความคับคั่งบริเวณท่าเรือได้ทั้งหมด |
Other Abstract: | Sea shipping is a major mode of international freight transportation. The effective ship management is an important part of shipping, business because of its high capital investment and high market competition. The objective of this research is to develop a mathematical model and a solution approach for routing and scheduling of bulk cargo ship under the conditions of the real world operation, including port congestion. The concept of problem solving is to integrate both ship routing and ship scheduling to be a single planning process. Moreover, this research concerned about port congestion problem which leads operation phase to be inconsistent with the resulting schedule from planning phase. The problem also causes operating cost and risk cost. In term of solution approach, column generation and row generation are implemented in order to increase performance. Actual instances from the case study company will be experimented. Then, the resulting schedule from the model is compared with the actual schedule. From the experiments, the developed mathematics model enables to efficiently solve the bulk cargo vessel scheduling problem with port congestion condition under an acceptable time usage. Furthermore, two of three problem sets from the case study company can be solved by the model and the resulting schedules can provide more profit and avoid all port congestion problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20012 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.116 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.116 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
viroon_ko.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.