Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20030
Title: ผลของการวางผังอาคารพักอาศัยในโครงการอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรแบบกลุ่มอาคารและแบบเรียงขนานที่มีต่อผู้อยู่อาศัย : กรณีศึกษา โครงการบ้านเอื้ออาทรรามอินทรา(คู้บอน) และโครงการบ้านเอื้ออาทรสมุทรปราการ 1
Other Titles: The impact of site planning on the residents of Baan Euarthorn Housing Project : cases study of Baan Euarthorn Raminthra (Kubon) Housing Project and Baan Euarthorn Samutprakarn 1 Housing Project
Authors: อังคาร ศักรานุกิจ
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวางผังอาคาร
อาคาร
การเคหะแห่งชาติ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทบาทหนึ่งที่สำคัญของการเคหะแห่งชาติคือ การจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยการเคหะแห่งชาติได้จัดทำโครงการที่อยู่อาศัยมาแล้วกว่าสามแสนหน่วย ส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดพักอาศัย และเป็น อาคารชุดในโครงการบ้านเอื้ออาทรมากที่สุดคือ 155,319 หน่วย การวางผังโครงการอาคารชุดพักอาศัยและการจัดวาง อาคารจึงมีความสำคัญ การวิจัยครั้งนี้ มุ่งที่จะศึกษาผลของการวางผังอาคารที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือเป็นแบบกลุ่ม อาคารและแบบเรียงขนาน ว่าส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยอย่างไร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ในโครงการบ้านเอื้ออาทรราม อินทรา(คู้บอน)ที่มีการวางผังแบบกลุ่มอาคาร และในบ้านเอื้ออาทรสมุทรปราการ 1 ที่มีการวางผังอาคารแบบเรียงขนาน ผลการศึกษาพบว่า การวางผังโครงการแบบเรียงขนานนั้นมีแนวคิด ให้ได้จำนวนหน่วยมากที่สุด และพิจารณา ทิศทางแดดลมเป็นหลัก ส่วนในการวางผังแบบกลุ่มอาคารมีแนวความคิด ให้ความสำคัญกับทิศทางแดดลมและการใช้ พื้นที่ให้เกิดประโยชน์โดยวางอาคารชิดแนวเขตที่ดินให้มากที่สุด จากการวิเคราะห์พบว่า การวางผังแบบกลุ่มอาคารมี ความประหยัดจากการวางผังมากกว่าโดยมีสัดส่วนพื้นที่ขายได้มากกว่าการวางผังแบบเรียงขนาน การวางผังแบบกลุ่ม อาคารมีความสะดวกในการใช้สอยมากกว่า โดยมีระยะทางเฉลี่ยในการเข้าถึงถนนหลักและการเข้าถึงพื้นที่ส่วนกลางสั้น กว่า และมีพื้นที่ส่วนกลางที่เอื้ออำนวยต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่า ผลต่อผู้อยู่อาศัย ปรากฏว่าผู้อยู่อาศัยทั้งสองโครงการมีความพึงพอใจในห้องพัก , อาคารชุด และโครงการที่ ตนเองอยู่อาศัย โดย ผู้อยู่อาศัยในโครงการที่วางผังแบบกลุ่มอาคาร มีความพึงพอใจในการอยู่อาศัย และในการใช้พื้นที่ ส่วนกลาง มากกว่า โดยได้ใช้ที่จอดรถทั้งในการจอดรถและการทำกิจกรรมร่วมกัน จากการสำรวจความคิดเห็นโดยการ ทำแบบจำลองทั้ง 2 โครงการไปถามความคิดเห็นจากผู้อยู่อาศัย ปรากฏว่า ผู้อยู่อาศัยทั้งสองโครงการรู้สึกว่า การวางผัง แบบเรียงขนานมีความหนาแน่นมากกว่า , การวางผังแบบกลุ่มอาคารมีพื้นที่ส่วนกลางที่น่าใช้สอยมากกกว่า , การวาง ผังในโครงการของตนมีการวางอาคารถูกทิศทางแดด-ลมมากกว่า และผู้อยู่อาศัยทั้งสองโครงการอยากอยู่อาศัยใน โครงการที่วางผังอาคารพักอาศัยแบบกลุ่มอาคารมากกว่า ข้อเสนอแนะ ในการวางผังโครงการอาคารชุดพักอาศัยควรมีการทดลองวางผังเปรียบเทียบกันทั้งสองแบบและ วิเคราะห์ผลก่อนการตัดสินใจ จัดทำโครงการ ในการวางผังผู้วางผังควรศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย อย่างละเอียดเพื่อให้ มีการจัดเตรียมพื้นที่ใช้สอยต่างๆที่จำเป็น สอดคล้องกับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เช่น พื้นที่สำหรับ การตากผ้า, ที่จอดรถจักรยานยนต์ , พื้นที่สันทนาการระหว่างอาคาร ฯลฯ การเคหะแห่งชาติ ควรนำผลที่ได้จากการวิจัย ในครั้งนี้ไปพิจารณาประกอบการพัฒนาและปรับปรุง มาตรฐานในการวางผังและจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยประเภท อาคารชุดพักอาศัยสูง 5 ชั้น ในอนาคตต่อไป
Other Abstract: One of the National Housing Authority (NHA)’s responsibilities is to provide low-income housing for the public. The NHA has built over 300,000 units in housing projects, most of which are 5-storey building projects. The largest amount of NHA housing is the Baan Euarthorn Housing Project, consisting of 155,319 units. The site plan and the layout of the buildings are, therefore, very important. This study focused on the impact of different building layouts (the cluster layout and the parallel layout) on the project residents. The data was collected from sample groups of residents who lived in the cluster-layout Baan Euarthorn Ramintra (Kubon) and those residing in the parallellayout Baan Euarthorn Samutprakarn 1. The research found the parallel-layout buildings were constructed with the concept of having as many housing units as possible in a suitable direction for sunlight and wind. The clusterlayout buildings were built with the idea of maximizing the availability of wind and sunlight and, by constructing the buildings as close and parallel to the edge of the plot as possible, making efficient use of the land. From the analysis, it was discovered that the cluster buildings had more efficient use of space because the layout provided more units for sale than the parallel layout did. Moreover, the cluster-layout was more convenient for the average resident because they had a shorter distance to go to the main road and common areas. Also, it was found the common areas of the cluster buildings were more suitable for social interaction. Residents of both projects were satisfied with their rooms, apartment building and housing project. Cluster building residents were more satisfied with their life in their apartment and the efficient use of the common area for parking and socializing than those in parallel-layout buildings. When presented with the models of both types of layout, the project residents felt that the parallellayout buildings looked more crowded than the cluster ones, that the cluster layout had more space for the common area, that the layout of their apartments were in a good direction for the availability of sunlight and wind, and that they would prefer to live in a cluster-layout apartment. It is recommended that in planning an apartment housing project, the NHA should compare the two types of layout and analyze the results of the comparison before carrying out the project. The behaviors of the targeted residents should be carefully studied in order to provide the necessary space needed, for example, an area for clothes drying, motorcycle parking and recreation areas between buildings. The NHA should take the results of this research into consideration when they develop new housing projects in order to improve the standards in planning and building of 5-storey building projects in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20030
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.429
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.429
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
angcarn_sa.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.