Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20046
Title: การวิเคราะห์ความหลากหลายของประชากรจุลินทรีย์ในถังปฏิกรณ์อีจีเอสบีโดยใช้เทคนิค PCR-DGGE
Other Titles: Analysis of microbial diversity in an EGSB reactor by PCR-DGGE technique
Authors: ศีตลา จันทร์เทศ
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Charnwit@sc.chula.ac.th fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th, chavalit@anoxic.env.chula.edu
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
การย่อยสลายทางชีวภาพ
Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment
Biodegradation
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์และความเร็วไหลขึ้นควบคู่ไปกับ การศึกษาความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ในถังปฏิกรณ์อีจีเอสบี โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่างกัน คือ 10, 20, 30 และ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน โดยใช้ความเร็วไหลขึ้น 3 และ 4 ม./ชม. ช่วงที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีที่ความเร็วไหลขึ้นต่างกัน คือ 3, 4, 5 และ 6 ม./ชม. โดยเปรียบเทียบที่ ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และช่วงสุดท้ายศึกษาความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ดีจีจีอีนำมาสกัดดีเอ็นเอ เพิ่มจำนวนดีเอ็นเอบริเวณสิบหกเอสอาร์ดีเอ็นเอ และหาความสัมพันธ์ของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณสิบหกเอสอาร์ดีเอ็นเอที่ได้ โดยการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมผลการทดลองช่วงที่ 1 พบว่า ระบบอีจีเอสบีนี้ สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 30 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ที่ความเร็วไหลขึ้นคงที่ 4 ม./ชม. ซึ่งมีประสิทธิภาพบำบัดซีโอดีอยู่ในช่วง 60-70% สัดส่วนการผลิตก๊าซมีเทนประมาณ 0.29-0.31 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ช่วงที่ 2 เมื่อเปลี่ยนความเร็วไหลขึ้นที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน พบว่าที่ความเร็วไหลขึ้น 6 ม./ชม. ระบบมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันโดยมีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีประมาณ 58% สัดส่วน การผลิตก๊าซมีเทนประมาณ 0.33 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด สำหรับการศึกษาความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์นั้นพบว่า เมื่อภาระบรรทุกสารอินทรีย์เพิ่มขึ้น ที่ความเร็วไหลขึ้นคงที่ความหลากหลายของจุลินทรีย์ลดลง เนื่องมาจากความเป็นพิษของระบบ แต่เมื่อเพิ่มความเร็วไหลขึ้นที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ปรากฏว่าจุลินทรีย์มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากความเร็วไหลขึ้นที่สูงช่วยเจือจางความเป็นพิษและเพิ่มสภาพด่างให้กับระบบ และจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่า ระบบประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กลุ่มหลัก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มของ Uncultured Methanobacterium, Uncultured Methanobacteriales archaeon และ Uncultured archaeon
Other Abstract: To study on the effects of organic loading rate and up-flow velocity on performance of EGSB and microbial community inside the reactor. The experiment was 3 parts; the first part was a study of effect of different organic loading rates at 10, 20, 30, and 40 kg-COD/cb.m-day using two up-flow velocities at 3 and 4 m/hr on the EGSB reactor. The second part was a study on effect of different up-flow velocities at 3, 4, 5 and 6 m/hr at the same organic loading rate of 40 kg-COD/cb.m-day. The last phase was a study on microbial diversities using PCR-DGGE technique with the extraction and amplification of DNA at an area of 16SrDNA. Subsequently, nucleotide sequencing was done by comparing them to the collected database.The first part showed that the EGSB systems had the best performance to treat wastewater at the organic loading rate of 30 kg- COD/cb.m-day and up-flow velocity at 4 m/hr, with COD removal efficiency in a range of 60-70 percent. Methane gas production was approximately at the yield of 0.29-0.31 l/g-COD removal. For the second part,when up-flow velocity was varied at the same organic loading rate of 40 kg-COD/cb.m-day, it was found that at the up-flow velocity of 6 m/hr. COD removal efficiency at approximately 58%. Methane gas production was found to be 0.33 l/g-COD removal. For the study on microbial diversity, it was found that when organic loading rate increased with constant up-flow velocity, microbial diversity was lower probably due to toxicity of wastewater itself on the system at the moment. From analyzing nucleotides by sequencing method, the result came out that this system composed of 3 main groups of microorganisms including a group of Uncultured Methanobacterium, Uncultured Methanobacteriales archaeon and Uncultured archaeon. When increasing up-flow velocity to be 5 and 6 m/h at organic loading rate of 40 kg-COD/cb.m-day, the microorganisms were found to be more diverse. This was because higher up-flow velocity could help dilute toxicity and increase alkalinity of the system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20046
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Seetala_ch.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.