Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2006
Title: ประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
Other Titles: Spiritual experience of patients with end stage of renal failure
Authors: สุพิน พริกบุญจันทร์, 2505-
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: จิตวิญญาณ
ไตวายเรื้อรัง--ผู้ป่วย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ยินยอมเข้าร่วมวิจัย จำนวน 20 ราย โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบันทึกเทป โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างครอบคลุมด้าน 1) ปรัชญาชีวิต 2) ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา 3) ความรู้สึกต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ 4) ความตระหนักในจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ใน 5 ประเด็นมีดังนี้ ด้านที่ 1 คือ ปรัชญาชีวิตที่ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ 1.1) อนาคตดับมืด 1.2) อยู่อย่างไร้คุณค่าเป็นภาระผู้อื่น 1.3) เส้นเลือดที่ต่อไว้คือเส้นชีวิต 1.4) ตลอดชีวิตต้องพึ่งไตเทียมและ 1.5) เป็น โรคคนรวย คนจนหมดสิทธิ์ ด้านที่ 2 คือ ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ 2.1) ช่วยให้สุขสงบ 2.2) ทำให้จิตใจผ่องแผ้ว ไม่ขุ่นมัวและ 2.3) ทำให้ปลงได้ ด้านที่ 3 คือ ความรู้สึกต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ 3.1) ขอให้หายจากโรค 3.2) เป็นที่พึ่งทางใจ ด้านที่ 4 คือ ความตระหนักในจิตวิญญาณ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1) ความสำเร็จของลูก คือ ทุกสิ่งของชีวิต 4.2) กำลังใจคือความอบอุ่นของครอบครัว 4.3) ต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนาน 4.4) ได้เปลี่ยนไต และ 4.5) ได้รับสวัสดิการในการฟอกเลือกจากรัฐบาล และด้านที่ 5 ได้รับความรักจากคนในครอบครัว ซึ่งเป็นด้านที่ค้นพบได้จากการวิจัยครั้งนี้ จากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดในชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองแล้วจะช่วยให้มีชีวิตอยู่อย่างผาสุก และพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินและวางแผนพยาบาลร่วมกับครอบครัว ในการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต่อไป
Other Abstract: The aim of this research was to study the spiritual experience of patients with end-stage renal failure. A qualitative approach was utilized. Twenty informants who consented to participate in the study were interviewed in-depth and tape recorded. The semi-structured interview covered the following issues: 1) life philosophy, 2) religious, 3) transcendence, and 4) spiritual awareness. Content analysis was applied for data analysis. Five major spiritual experience themes were revealed. 1) life philosophy, including five subthemes: 1.1) no future, 1.2) living with worthless, 1.3) A-V shunt is lifeline, 1.4) dependence on hemodialysis, and 1.5) disease of rich, poor die. 2) religious aspect, with three subthemes: 2.1) peaceful, 2.2) enlighten, and 2.3) determination. 3) transcendence with three two subthemes: 3.1) wish for cure, 3.2) need for psychological support. 4) spiritual awarness with five subthemes; 4.1) the success of my child is everything in my life, 4.2) moral is a family warmness, 4.3) want to livelonger, 4.4) want a renal transplant, and 4.5) need support from the government. 5) Serendipitous finding from this study was love needed from family members. The results of this research revealed that spiritual experience among patients with renal disease was the most valuable in their lives. Nurses should use these results as guidelines to assess and plan nursing interventions for spiritual car.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2006
ISBN: 9745319457
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supin.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.