Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20070
Title: ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาฉีดโคลิสทิมิเทต โซเดียม ทางหลอดเลือดดำ ในการรักษาโรคปอดอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด
Other Titles: Effectiveness and safety of intravenous colistimethate sodium for the treatment of multidrug-resistant acinetobacter baumannii pneumonia
Authors: ศิริพร แซ่เล้า
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
พจน์ อินทลาภาพร
กิตติ ตระกูลฮุน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Achara.U@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โคลิสทิมิเทตโซเดียม
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ปอดอักเสบ
การติดเชื้ออะซิเนโตแบคเตอร์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ: เชื้อ A. baumannii มีอุบัติการณ์ดื้อยาต้านจุลชีพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเกือบทุกชนิด ประกอบกับขาดยาต้านจุลชีพชนิดใหม่ที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อดังกล่าว จึงพิจารณานำยาโคลิสทิมิเทต โซเดียม (โคลิสติน) กลับมาศึกษาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยใหม่ วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาฉีดผสมที่มีและไม่มีโคลิสติน ในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii วิธีทำ: ผู้ป่วยที่เข้าพักในโรงพยาบาลราชวิถีหรือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง 30 เมษายน 2551 จำนวน 94 ราย ถูกคัดเข้ามาในการศึกษา โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดผสมที่มีโคลิสติน 49 ราย (กลุ่มโคลิสติน) และไม่มีโคลิสติน 45 ราย (กลุ่มนัน-โคลิสติน) ผล: ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ เพศ อายุ ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii และโรคร่วมของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นประวัติผ่าตัดทางระบบหัวใจและหลอดเลือดภายใน 6 เดือนก่อนหน้านี้ ร้อยละ 14.3 และ 2.2 ตามลำดับ (p = 0.039) ประวัติได้รับยาคาร์บาพีเนมภายใน 3 เดือนก่อนหน้านี้ ร้อยละ 57.1 และ 26.7 ตามลำดับ (p = 0.003) ผู้ป่วยมีการตอบสนองทางคลินิกจำนวน 12 ราย (ร้อยละ 24.5) และ 17 ราย (ร้อยละ 37.8) ตามลำดับ (p = 0.164) ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อเชื้อในช่วงเวลาสิ้นสุดการรักษาจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 48.1) และ 16 ราย (ร้อยละ 53.3) ตามลำดับ (p = 0.216) ประสิทธิผลของยาต้านจุลชีพโดยมีผลการตอบสนองทางคลินิกดีขึ้น หรือมีผลการตอบสนองต่อเชื้อดีขึ้น พบในผู้ป่วย 22 ราย (ร้อยละ 44.9) และ 28 ราย (ร้อยละ 62.2) ตามลำดับ (p = 0.093) พบการเกิดความเป็นพิษต่อไตในผู้ป่วย 7 จาก 27 ราย (ร้อยละ 25.9) และ 4 จาก 26 ราย (ร้อยละ 15.4) ตามลำดับ (p = 0.344) ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นต่อระบบประสาทในผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีดผสมที่มีโคลิสติน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากทุกสาเหตุภายใน 30 วันหลังเริ่มยา จำนวน 21 ราย (ร้อยละ 42.9) และ 17 ราย (ร้อยละ 37.8) ตามลำดับ (p = 0.616) ผู้ป่วยในกลุ่มโคลิสตินที่มีพื้นฐานไตทำงานปกติ พบประสิทธิผลจากการใช้ยา ร้อยละ 63 สรุป: ยาฉีดผสมที่มีโคลิสตินให้ประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ อันเนื่องมาจากการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii ในโรงพยาบาล ต่ำกว่ายาฉีดผสมที่ไม่มีโคลิสตินอย่างไม่มีนัยสำคัญ โดยพบอาการไม่พึงประสงค์ต่อไตสูงกว่า ถ้าพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่มีพื้นฐานการทำงานของไตปกติ พบประสิทธิผลของการให้ยาฉีดผสมที่มีโคลิสติน ร้อยละ 63
Other Abstract: Introduction: The emergence of A. baumannii resistant to most classes of commercially available antibiotics and shortage of new antimicrobial agents with activity against them have led to the reconsideration of effectiveness and safety of colistimethate sodium (colistin). Objective: To study on effectiveness and safety of intravenous colistin for patient with multidrug-resistant A. baumannii nosocomial pneumonia. Methods: Ninety-four patients were enrolled from Rajavithi or Phramongkutklao hospital between December 1, 2007 to April 30, 2008. Forty-nine patients (colistin group) received colistin/ colistin combination, and 45 patients (non-colistin group) received non-colistin combination. Results: The mean age, gender, risk factor of A. baumannii infections and comorbidity of the patients in both groups were not significantly different, exception prior surgery within 6 months were 14.3% and 2.2% respectively, (p = 0.039), receiving of carbapenems within 3 months were 57.1% and 26.7% respectively, (p = 0.003). In both groups, there were clinical response to antimicrobial therapy in 12 (24.5%) and 17 (37.8%) patients respectively, (p = 0.164) and microbiological response in 13 (48.1%) and 16 (53.3%) patients respectively, (p = 0.216). The effectiveness of antimicrobial agents as clinical or microbiological response occurred in 22 (44.9%) and 28 (62.2%) respectively, (p =0.093). Seven of 27 (25.9%) in the colistin group and 4 of 26 (15.4%) patients in the non-colistin group developed nephrotoxicity, (p = 0.344). No neurotoxicity was observed among the patients in the colistin group. All cause mortality within 30 days were 42.9% and 37.8% respectively, (p =0.616). The effectiveness of intravenous colistin combination regimen in patient with normal renal function was 63%. Conclusions: Intravenous colistin combination regimen was effectiveness lower than non-colistin regimen for treatment of nosocomial pneumonia caused by multidrug-resistant A. baumannii with higher renal toxicity. In normal renal function group, the effectiveness of intravenous colistin combination regimen was 63%
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20070
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1380
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1380
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_sa.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.