Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร-
dc.contributor.advisorวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ-
dc.contributor.authorนันทพร ทับทิมศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-06T11:33:22Z-
dc.date.available2012-06-06T11:33:22Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20075-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractความร่วมมือของเจ้าหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ดี การจะให้เจ้าหนี้ทุกรายเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูกิจการนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย เกิดความยุ่งยากหรือล่าช้าในการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น กฎหมายล้มละลายจึงคิดกลไกโดยให้มีคณะกรรมการเจ้าหนี้ขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทนเจ้าหนี้ในการเข้ามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่มา อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการของไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ เพื่อวิเคราะห์ถึงข้อขัดข้องและความไม่เหมาะสมของข้อกฎหมายที่กระทบถึงบทบาทของคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของไทย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพื่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการของไทยเป็นไปอย่างชัดเจน เหมาะสม จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้ในมาตรา 90/55 เพียงมาตราเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ คณะกรรมการเจ้าหนี้เข้ามามีบทบาทช้าเกินไป ขาดความชัดเจนในเรื่องประเภทของเจ้าหนี้ที่สามารถเป็นกรรมการเจ้าหนี้ได้ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ไม่ชัดเจน และขาดปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1.ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการเจ้าหนี้ตั้งแต่เริ่มต้นการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือเจ้าหนี้ในการเจรจากำหนดแผนฟื้นฟูกิจการกับลูกหนี้ 2.ควรกำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหนี้ได้มากกว่าหนึ่งคณะโดยแยกเป็นคณะกรรมการเจ้าหนี้สามัญเป็นผู้แทนและมาจากเจ้าหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องไม่มีประกันคณะหนึ่ง และอาจมีคณะกรรมการเจ้าหนี้เพิ่มเติมได้ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอและศาลอนุญาต 3.กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ให้ชัดเจนพอที่คณะกรรมการเจ้าหนี้จะเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ดี 4.กำหนดเกี่ยวกับการว่าจ้างที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเจ้าหนี้en
dc.description.abstractalternativeCreditors’ cooperation in reorganization process is one of the crucial factors contributing to the achievement of debtors’ reorganization. Nonetheless, creditors’ participation is difficultly acquired. This may result in waste of time and expenditures, and complication or delay of reorganization. Thus, the bankruptcy law establishes mechanism appointing creditors’ committee to participate in lieu of creditors in debtors’ reorganization. The objections of this thesis are to educate the principles involving the origin, the authority, and the responsibility of creditors’ committee in reorganization; as well as, the factors which facilitate the performance of creditors’ committee’s duty. Furthermore, the solutions will also be suggested for the purpose of pursuing clear and appropriate provisions concerning creditors’ committee under the extent of reorganization law of Thailand. According to the education, only section 90/55 of the Bankruptcy Act of A.D.1940 defines about creditors’ committee in reorganization, which is insufficient. Creditors’ committee takes its action too delays. The category of creditors who are eligible to be a member of the committee is lack of clarity. The authority and the responsibility of creditors’ committee remain unclear, and the factors supporting the performance of creditors’ committee’s duty is absent. This thesis hereby suggests these following solutions for the aforesaid obstructions; 1. Creditors’ committee should be appointed as from the initial process of reorganization to assist creditors and debtors in negotiating for procuring reorganization plan. 2. More than one creditors’ committee should be appointed. The committee will be divided into an official committee and, if the court granted permission, an additional committee. 3. The authority and the responsibility of creditors’ committee should be clearly and precisely assigned. As a result, apprehended creditors’ committee will finely conform its duty. 4. Consultant fees and expenditures generated from the performance of creditors’ committee’s duty should be certainly specified in order to be a supporting tool for performance of duty.en
dc.format.extent1811617 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1834-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฟื้นฟูกิจการen
dc.subjectการฟื้นฟู -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectเจ้าหนี้en
dc.subjectล้มละลาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleบทบาทของคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการen
dc.title.alternativeRole of creditors' committee in reorganizationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSamrieng.M@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1834-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nantaporn_tu.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.