Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20175
Title: การกำกับความหมายของแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ต
Other Titles: The anchorage meaning of tourist maps on the internet
Authors: อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์
Advisors: สุธี พลพงษ์
ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.P@chula.ac.th
Sirichai.S@chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องการกำกับความหมายของแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะการสื่อความหมายของสัญญะที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษรและลายลักษณ์อักษรที่ถูกนำมาใช้ในแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ต และเพื่อให้เข้าใจถึงการใช้รหัสสารเชิงเสมือนในการสื่อความหมายของแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงความสามารถในการใช้รหัสสารเชิงเสมือนที่สัมพันธ์กับรหัสลักษณะอื่นๆ ในแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ต โดยอาศัยแนวคิดเรื่องการกำกับความหมาย แนวคิดสัญญวิทยา แนวคิดเรื่องการสมสัณฐาน แนวคิดเรื่องการรับรู้ของกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลต์ รหัสสารเชิงเสมือน รหัสสารเชิงตรรกะ แนวคิดการจำแนกระบบสัญญะในแผนที่ของ Ucar และการจำแนกสัญญะที่เป็นจุดในแผนที่ของ Knowlton และRobinson et al. เป็นแนวทางหลักในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าการกำกับความหมายและการสื่อความหมายของแผนที่ท่องเที่ยวบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นเกิดขึ้นในสองลักษณะคือ เรื่องตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่และทิศทางของสถานที่ สำหรับการสื่อความหมายในเรื่องที่ตั้งของสถานที่นั้นพบในทุกแผนที่ โดยแยกประเภทความสำคัญของสถานที่ด้วยชนิดของสัญญะ ซึ่งสถานที่สำคัญนั้นจะใช้สัญรูปแสดงแทนเพื่อสื่อสารถึงความเจริญรุ่งเรื่องและอุดมด้วยสถาปัตยกรรมของเมือง ซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ดีให้แก่เมือง ส่วนสัญญะชนิดสัญลักษณ์นั้นใช้สื่อถึงสถานที่ทั่วๆ ไปที่มีอยู่เป็นจำนวนมากภายในเมือง เช่น สถานที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก เส้นทางน้ำ เส้นทางคมนาคม และเขตพื้นที่ ในส่วนการสื่อความหมายเรื่องทิศทาง (direction) นั้นพบเฉพาะบางแผนที่เท่านั้น ส่วนใหญ่พบในแผนที่ของเมืองที่ไม่ได้วางตัวในแนวเหนือใต้หรือไม่ขนานกับเส้นลองจิจูด จากการวิจัยพบว่าลายลักษณ์อักษรทำหน้าที่ในการกำกับความหมายของสัญญะที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษรในสองลักษณะ คือ ทำหน้าที่แสดงชื่อเฉพาะของสัญญะนั้นและทำหน้าที่ระบุชี้ว่าสัญญะนั้นคืออะไร ในส่วนรหัสพบว่ามีการใช้รหัสภูมิศาสตร์ ได้แก่ รหัสที่ตั้ง (location) ใช้จัดการสัญญะที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ จุด เส้น และพื้นที่ และเครื่องหมายแสดงทิศเป็นรหัสภูมิศาสตร์ที่ใช้จัดการทิศทางในแผนที่ โดยใช้ร่วมกับรหัสอื่นๆ ได้แก่ รหัสสารเชิงเสมือนใช้จัดการสัญรูปให้มีรูปร่างและรูปทรงสมสัณฐานกับสิ่งที่มันแสดงแทน รหัสสารเชิงตรรกะ รหัสสี รหัสวัฒนธรรม และรหัสเชิงตัวแทน (representation code) เพื่อช่วยในการสื่อสารเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดแก่ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการใช้แผนที่
Other Abstract: The research of the Anchorage Meaning of Tourist Maps on the Internet is to find out the signification of written words and non-linglistic signs used in tourist maps on the Internet and the signification of analogic message code in tourist maps on the Internet as well as the correspondence with other codes. This research employs the qualitative method and concepts of Anchorage Meaning, Isomorphism, Semiotic, Analogic Message Code, Digital Message Code and Geographic Code. The research results show that the anchorage meaning and signification of tourist maps on the Internet can be distinguished into two ways: signification of location and direction. The signification of location can be found in every tourist map while the signification of direction can only be found in some tourist maps which do not lie in North-South direction or not parallel to longitude. The signification of location can be devided into two ways: first, to represent the location of landmarks of the city in form of icons in order to signify about the unique of architectures and prosperous cultures of the city. Second, to represent the location of tourist facilities in form of symbols in order to signify about various kinds of service, transportation and accommodation. The written words in tourist maps anchor non-linguistic sings in two ways: denominative function and identifying. For codes, in this research found that the geographic codes: location and direction correspond with analogic message code in order to signify landmarks of the city which are in form of icons. There are also other codes, digital message code, color code, culture code and representaion code which used for helping non-expertise tourist to interpret tourist maps easily.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20175
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
areerut_pa.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.