Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20192
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยา ติงศภัทิย์-
dc.contributor.authorดิศราพร สร้อยญาณะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-09T09:08:56Z-
dc.date.available2012-06-09T09:08:56Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20192-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษายองในบริบทคำพูดเดี่ยวกับคำพูดต่อเนื่อง เปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในผู้บอกภาษาสองรุ่นอายุและพิสูจน์ข้อเสนอเรื่องวรรณยุกต์สนธิในภาษายองของเรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์ (2521) โดยสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนจำนวน 6 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น อายุ 13-18 ปีและกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ข้อมูลคำพูดเดี่ยวได้จากรายการคำที่สร้างขึ้นจากชุดคำสำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทถิ่นของวิลเลี่ยม เจ เก็ดนี่ย์ (1972) และคำอีกจำนวนหนึ่งที่เพิ่มเติมขึ้น ข้อมูลคำพูดต่อเนื่องได้จากการสนทนาระหว่างผู้วิจัยกับผู้บอกภาษาในเรื่องทั่วไป บริบทที่นำมาวิเคราะห์ คือ กลางประโยคและท้ายประโยคโดยคัดเลือกเฉพาะประโยคบอกเล่าประเภทไม่เน้นย้ำ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ระบบวรรณยุกต์ภาษายองลำพูนประกอบด้วยวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง วรรณยุกต์ในคำพูดเดี่ยวมีพิสัยกว้างกว่าในคำพูดต่อเนื่อง และในคำพูดต่อเนื่องกลางประโยคมีพิสัยแคบกว่าในคำพูดต่อเนื่องท้ายประโยค สัทลักษณะของวรรณยุกต์คงระดับ ได้แก่ วรรณยุกต์ที่ 2 กลางระดับ วรรณยุกต์ที่ 3 ต่ำระดับ และวรรณยุกต์ที่ 4 กลางค่อนข้างต่ำระดับมีสัทลักษณะเหมือนกันในคำพูดเดี่ยวและในคำพูดต่อเนื่อง ขณะที่สัทลักษณะของวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ได้แก่ วรรณยุกต์ที่ 1 กลาง-ขึ้น วรรณยุกต์ที่ 5 กลาง-ตก และวรรณยุกต์ที่ 6 สูง-ตกมีการขึ้นตกในคำพูดต่อเนื่องน้อยกว่าในคำพูดเดี่ยวโดยเฉพาะในบริบทกลางประโยค จากการเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในผู้บอกภาษากลุ่มวัยรุ่นกับกลุ่มผู้สูงอายุพบว่าทุกหน่วยเสียงมีจำนวนหน่วยเสียงย่อยใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบภาษายองลำพูนกับภาษายองเมืองยองพบว่า วรรณยุกต์ที่ 3 ในภาษายองลำพูนเป็นเสียงต่ำระดับแต่ในภาษายองเมืองยองเป็นเสียงต่ำ-ขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าวรรณยุกต์ที่ 2 และที่ 4 ในกลุ่มวัยรุ่นมีสัทลักษณะในภาษาคำเมืองลำพูนปรากฏอยู่ ซึ่งอาจชี้ให้เห็นว่าภาษายองลำพูนเริ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาคำเมืองลำพูน สำหรับวรรณยุกต์สนธิของคำ 2 พยางค์ปรากฏวรรณยุกต์สนธิเมื่อคำหลังเป็นวรรณยุกต์ที่ 2 และคำแรกเป็นวรรณยุกต์ที่ 3 เท่านั้น จากการแปรของเสียงวรรณยุกต์ที่พบในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าภาษายองในจังหวัดลำพูนแตกต่างจากภาษายองเมืองยองและมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษายองลำพูนจากอิทธิพลของภาษาคำเมืองลำพูนen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to compare tonal realizations in Yong in citation form and connected speech and between 2 age-groups as well as to prove whether there is tone sandhi in Yong as proposed by Ruengdet Pankhuenkhat (1978). Six female informants who live in Tambon Pasang, Pasang district, Lamphun province were interviewed. They belong to 2 age-groups - 13-18 years old and over 60 years old. The wordlist was constructed based on “A checklist for determining tones in Tai dialects” by William J. Gedney (1972). Some words not in that list were added. The connected speech was recorded during conversation between the informants and the researcher. The contexts analyzed are the middle and the end of non-emphatic affirmative utterances.The results of the analysis show that there are 6 tones in the Lamphun Yong tone system. Pitch range in citation form is wider than in connected speech. The range in mid utterance speech is narrower than at utterance ending. The realizations of the level tones, i.e. tone 2 mid level, tone 3 low level, and tone 4 higher-mid level in citation form is the same as in connected speech whereas the realizations of the contour tones, i.e. tone 1 mid-rising, tone 5 mid-falling, and tone 6 high-falling in connected speech show less rising and falling than those in citation form especially in mid utterance. A comparison between the two age groups shows that every tone has the same number of allotones. A comparison between Lamphun Yong and Yong in Muang Yong shows that tone 3 in Lamphun Yong is low level while in Yong Muang Yong it is low-rising. Moreover, it is found that tone 2 and tone 4 in some words in the teenage group have the same realizations as in the Lamphun variety of Northern Thai. It shows that the Lamphun variety of Northern Thai is exerting influence on Lamphun Yong. Tone sandhi in two syllabic words is found only when the second syllable is tone 2 and the first is tone 3. Tonal variation found in this research shows that Lamphun Yong is different from Yong Muang Yong and that its tonal characteristics may become similar to those of the Lamphun variety of Northern Thai.en
dc.format.extent3722424 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาวรรณยุกต์ภาษายองเชิงกลสัทศาสตร์: การเปรียบเทียบในบริบทคำพูดเดี่ยวกับคำพูดต่อเนื่องและระหว่างสองรุ่นอายุen
dc.title.alternativeAn Acoustic analysis of tone in Yong: a comparison between the citation context and the connected speech context and between two age-groupsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkalaya.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
disaraporn_so.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.