Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20195
Title: | การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การสำหรับโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนด้วยการเทียบเคียงสมรรถนะ |
Other Titles: | The Develoment of a total quality management model for private vocational school using benchmarking |
Authors: | จินตนา จันทร์เจริญ |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pruet.s@chula.ac.th weerawat.u@chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน -- การบริหาร การบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษา การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ) |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การสำหรับโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มประชากรประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องตลอดจนตัวแทนผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชน ของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่เปิดสอนในระดับ ปวช. และ ระดับ ปวส. ในสาขาช่างอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม สภาพปัจจุบัน สภาพที่เป็นปัญหา และสภาพที่ควรจะเป็นของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน และแบบสัมภาษณ์ที่สอบถามเกี่ยวกับ หลักการวัตถุประสงค์ โครงสร้างและกระบวนการของการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ ตลอดจนแบบสอบถามที่ถามถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การสำหรับโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ได้รูปแบบที่มีชื่อว่า “รูปแบบการบริหารคุณภาพเชิงยุทธศาสตร์ทั้งองค์การ (Strategic Total Quality Management)” โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์เน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าผู้รับบริการ และเน้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอดจนการทำงานเป็นทีม โครงสร้างทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่ จะเน้นโครงสร้างที่ยึดหยุ่นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีจุดเด่นของทั้ง 2 โครงสร้าง คือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาจะอยู่เหนือผู้รับใบอนุญาต ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้าง ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์คุณภาพที่ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการทำให้การสั่งการรวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพราะเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ใน เชิงคุณภาพ ตลอดจนผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ICT และผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานในเชิงยุทธศาสตร์คุณภาพมีสายงานบังคับบัญชาขึ้นตรงกับผู้อำนวยการ ยุทธศาสตร์ จะประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เตรียมการ ยุทธศาสตร์ดำเนินการ ยุทธศาสตร์ประเมินผลรายงาน |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop a total quality management model for private vocational school. The sample group consisted of executives, teachers, academic-related staff, parents, former students, and community of private vocational schools providing education in vocational certificate and higher vocational certificate levels in industrial and commerce. Tools utilized in this research consisted of (1) questionnaires asking about current conditions, conditions that cause problems, and conditions that should exist in private vocational schools, and (2) interviews regarding principles, objectives, structures and processes of a total quality management as well as questionnaires inquiring about the client’s satisfaction. Data analysis was conducted using content analysis, percentage and mean. The quality management model for private vocational school developed by the research was “strategic total quality management model” Principles and objectives of the model focused on clients and emphasized continuous improvement and teamwork. Structures of both large and small schools emphasized flexible structure with continuous improvement. The strength of the two structures was that the school board‘s chain of command was above the authorized entrepreneur, which differed from the structure stipulated in the National Education Act. Besides, the Quality Strategy Committee directly reported to the Director, thus commands could be communicated in a timely manner. This was crucial because the Quality Strategy Committee was responsible for planning and determining quality strategies. Moreover, the Assistant Director of the ICT Department and the Assistant Director of the Research Department, which played important roles in quality strategy management, also directly reported to the Director. Strategies consisted of preparation strategies, operation strategies, and evaluation strategies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20195 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2241 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2241 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jintana_ch.pdf | 3.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.