Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย จงวุฒิเวศย์ | - |
dc.contributor.advisor | จตุรงค์ พุทธพรทิพย์ | - |
dc.contributor.author | จิตรกุล สุวรรณเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-10T02:52:51Z | - |
dc.date.available | 2012-06-10T02:52:51Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20218 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | โปรตีนบนผิวของสปอร์โรซอยต์ของเชื้อมาลาเรียเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกันของโฮสต์ แม้ว่า circumsporozoite protein (CSP) จะเป็นโปรตีนหลักและสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในคนและสัตว์ทดลองได้ แต่ยังมีโปรตีนชนิดอื่น ๆ บนผิวของสปอร์โรซอยต์ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน นอกเหนือจาก thrombospondin-related adhesive protein (TRAP) แล้ว ยังมีโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาด 78 กิโลดาลตัน ซึ่งพบบนผิวของสปอร์โรซอยต์ของพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม เรียกว่า sporozoite threonine-asparagine-rich protein (STARP) ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาเป็นองค์ประกอบของวัคซีนป้องกันมาลาเรียต่อระยะก่อนการเจริญในเม็ดเลือดแดงเพราะแอนติบอดีจากเปปไทด์สังเคราะห์จากส่วนของ STARP สามารถยับยั้งการลุกลามของสปอร์โรซอยต์เข้าสู่เซลล์ตับ โครงสร้างของ STARP ในส่วนกลางมีบริเวณซ้ำกันของกรดอะมิโน 45 ตัวและมีการกระจายของกรดอะมิโนซ้ำกันเป็นชุด ๆ ละ 10 ตัว ส่วนทางด้าน N- และ C-terminus ไม่มีการซ้ำกันของกรดอะมิโน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาตัวอย่างพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่มจากทั่วโลก พบว่าความหลากหลายของลำดับเบสมีอย่างจำกัดในยีน STARP โดยบริเวณ C-terminus ของโปรตีนนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของการคัดเลือกในเชิงบวก ซึ่งอาจเป็นผลจากแรงกดดันของระบบภูมิคุ้มกันของโฮสต์ต่อโปรตีนดังกล่าว เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อ STARP จากการติดเชื้อตามธรรมชาติของผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาดมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นในการศึกษานี้จึงทำการผลิตโปรตีนลูกผสมขนาด 17 กิโลดาลตัน จากบริเวณ C-terminus ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 146 ตัวและทำการทดสอบหาปฏิกิริยาที่ให้ผลบวกกับซีรั่มของผู้ป่วยพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม (10 ตัวอย่าง) และทดสอบปฏิกิริยาที่ให้ผลลบกับซีรั่มของคนสุขภาพดีที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของมาลาเรีย (10 ตัวอย่าง) เมื่อทำการวิเคาะห์แอนติบอดีชนิด IgG ด้วยวิธี Western blot โดยใช้ตัวอย่างซีรั่ม 101 ตัวอย่าง จากผู้ติดเชื้อมาลาเรียในจังหวัดตาก ซึ่งแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม (54 ตัวอย่าง) ผู้ติดเชื้อพลามโมเดียม ไวแวกซ์ (20 ตัวอย่าง) และผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาด (27 ตัวอย่าง) พบว่ามีแอนติบอดีต่อ STARP ในตัวอย่างซีรั่มของผู้ติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม จำนวน 23 ตัวอย่างจาก 54 ตัวอย่าง (ร้อยละ 42.6) ในขณะที่ตัวอย่างซีรั่มจากผู้ติดเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์และผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้ออาศัยอยู่ในเขตปรากฎโรคมาลาเรียให้ผลลบทุกตัวอย่าง แสดงว่าการตอบ สนองของแอนติบอดีชนิด IgG ต่อบริเวณ C-terminus ของ STARP จากการติดเชื้อตามธรรมชาติมีความจำเพาะกับเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่มกับปฏิกิริยาการตอบสนองของแอนติบอดีชนิด IgG พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แสดงว่าแอนติบอดีต่อ STARP ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับเชื้อมาลาเรียระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง ดังนั้นจึงน่าจะเป็นไปได้ที่วัคซีนป้องกันมาลาเรียที่มีองค์ประกอบจากบริเวณ C-terminus ของ STARP จะเสริมการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของโฮสต์ได้ จากการติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่มตามธรรมชาติ | en |
dc.description.abstractalternative | Surface proteins of the invasive sporozoite stage of malaria parasites are targets of host immune recognition. Although the circumsporozoite protein (CSP) is the major component of sporozoite coat that elicits protective immune responses upon immunization trials in humans and experimental animals, other proteins on the sporozoite surface could additively exert immunoprotective effect. Besides thrombospondin-related adhesive protein (TRAP), another protein with a molecular weight of 78 kDa found on the surface of Plasmodium falciparum sporozoite, designated sporozoite threonine-asparagine-rich protein (STARP), has been considered to be a potential pre-erythrocytic vaccine candidate because synthetic peptide derived from short segments of STARP and affinity-purified human antibodies directed against this protein could inhibit sporozoite invasion into hepatocytes. One of the remarkable features of STARP is the presence of 45-amino acid repeats and multiple interspersed motifs of decapeptide repeats located at the central portion of the protein flanked by N- and C- terminal non-repeats regions. Despite limited sequence diversity at the STARP locus of P. falciparum from worldwide isolates, the C-terminal part of this protein has been evolved under positive selection, probably driven by host immune pressure. Because little is known about naturally acquired immune responses against STARP among individuals living in malaria endemic areas, we produced a recombinant 17 kDa peptide derived from the C-terminal part spanning 146 amino acids and tested for its positive reactivity with pooled sera from patients infected with P. falciparum (n = 10) and immunonegativity with sera from 10 healthy subjects living in an area without malaria transmission. Determination of IgG antibody recognition was performed by Western blot analysis of 101 sera from individuals living in Tak Province who were infected, by the time of blood sample collection, with P. falciparum (n = 54), P. vivax (n = 20) and uninfected individuals living in the same endemic area (n = 27). Results have shown that 23 of 54 sera samples (42.6%) from P. falciparum-infected individuals yielded positive reactivity whereas all sera samples belonging to P. vivax-infected cases and non-infected individuals living in the same malaria endemic area gave negative tests, suggesting that naturally acquired IgG antibody response against the C-terminal part of STARP is species-specific. However, there is no significant relationship between P. falciparum parasite density and IgG antibody reactivity against the C-terminal part of STARP (p > 0.05). Provided that antibodies against STARP could confer protection, this finding suggests that anti-STARP antibody has no cross-reactive effect on blood stage parasites. Therefore, it is likely that malaria vaccine derived from the C-terminal part of STARP could be boosted upon natural P. falciparum infection | en |
dc.format.extent | 1775286 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.15 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พลาสโมเดียมฟัลซิปารัม | en |
dc.subject | มาลาเรีย | en |
dc.subject | โปรตีน | en |
dc.subject | ภูมิคุ้มกัน | en |
dc.title | การผลิตโปรตีนลูกผสมของสปอร์โรซอยต์ทรีโอนีนแอสปาราจีนริซโปรตีนของพลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม เพื่องานทางด้านซีรั่มระบาดวิทยา | en |
dc.title.alternative | Production of recombinant Plasmodium falciparum sporozoite threonine-asparagine-rich protein for seroepidemiologic study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Somchai.Jo@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Chaturong.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.15 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chittakun_su.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.