Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20228
Title: เอกสารราชการประกอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา : โครงการอาคารอยู่อาศัยรวม
Other Titles: Official documents for the environmental impact assessment process according to unity housing projects
Authors: ดิษพงศ์ พงษ์รัตนกูล
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cbundit@yahoo.com, Bundit.C@chula.ac.th
zooaey@hotmail.com, Yuwadee.S@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เอกสารราชการ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนหนึ่งเกิดจากการแก้ไขเพิ่มเติมรายงานฯ ทั้งนี้การแก้ไขที่พบสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนในการจัดทำ และส่วนในการจัดหา คือเอกสารราชการที่ใช้ประกอบการพิจารณารายงานฯ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของเอกสารราชการที่เกิดขึ้น โดยศึกษาจากแนวทางที่สำนักนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด รายงานที่ผู้ประกอบการจัดทำและรายงานการ ประชุมคณะกรรมการฯ ตามแนวทางการจัดทำรายงานฯ ระบุเอกสารราชการที่ใช้ประกอบการพิจารณารายงานฯ ทั้งหมด 14 รายการ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หากเป็นอาคารอยู่อาศัยรวมเอกสารที่จำเป็นจะต้องใช้ ประกอบการพิจารณา จะมีเพียง 8 รายการเท่านั้นประกอบด้วย โฉนดที่ดิน เอกสารแจ้งการใช้ประโยชน์ ที่ดิน เอกสารรับรองการอนุญาตให้เชื่อมท่อและระบายน้ำ เชื่อมทาง เอกสารรับรองการให้บริการจัดเก็บ ขยะ ไฟฟ้า ประปา และใบอนุญาตก่อสร้างสะพาน (ถ้ามี) และมีเอกสารราชการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ แนวทางการจัดทำรายงานฯ ระบุไว้ 4 รายการ ได้แก่ โฉนดที่ดินกรณีติดภาระจำยอม ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ใบแจ้งขอหยุดการก่อสร้างอาคาร และเอกสารรับรองแนวเขตทางและความกว้างของถนน ซึ่งเป็นเอกสารราชการที่ใช้เพิ่มเติมเฉพาะโครงการ จากการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่าโครงการที่ผ่านการพิจารณาโดย ไม่ติดปัญหาเรื่องเอกสารราชการ มีการยื่นเอกสารราชการตามที่แนวทางการจัดทำรายงานฯระบุไว้ครบถ้วน ตั้งแต่การยื่นครั้งแรก นอกจากนี้พบว่าโครงการอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม เกิดจากความ ไม่เข้าใจในเอกสารราชการ ทำให้เกิดปัญหาการยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน และยื่นเอกสารราชการไม่ถูกต้อง ตามที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ใช้ประกอบการพิจารณารายงานฯ ดังนั้นจากการศึกษาสรุปว่า เอกสารราชการที่ใช้ยื่นประกอบการพิจารณารายงานฯ หากผู้จัดทำ เข้าใจประเภทของเอกสาร และการนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในแต่ละประเด็นของคณะกรรมการฯ โดยศึกษาจากแนวทางการจัดทำรายงานฯ เป็นหลัก และศึกษารายละเอียดเฉพาะโครงการเพิ่มเติม เพื่อจะ ได้เตรียมเอกสารราชการที่ถูกต้องและชัดเจน ประกอบการพิจารณารายงานฯ ก็จะสามารถลดปัญหาความ ล่าช้าจากการยื่นเอกสารดังกล่าวได้
Other Abstract: Delays in the consideration of environmental impact assessments are often due to the need for additional editing of the report, especially the official documents required for the assessment. The objective of this study is to examine current conditions and problems relating to these reports, in relation to the guidelines of The Office Natural Resources and Environmental Policy and Planning, specialist committee. The guidelines of The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning indicates that 14 official documents are required for its consideration; however, the study of the Unity Housing Project reveals that there are were 8 official documents needed for consideration of submission. These, which were : land deeds; land utilization documents ;permission for connecting water pipes and drainages; permission for gates ;confirmation documents for waste, electricity and waterworks ;and bridge permission (if available) ;as well as 4 additional documents, including deed servitude; permission for building construction and modification; construction suspension notification; and verification for boundary line and road width. All of these documents were needed specifically for the case study project Study of the environmental impact assessment for the project determined that the project successfully passed the consideration process without any problems related to official documents, and the responsible parties completely submitted all required documents as specified in the guidelines in the first submission. However, it also reveals that there were additional modifications to the project, which were based on a misunderstanding of the official documents; and which made it necessary for the committee to ask for additional documents for consideration. In conclusion, the experts involved in the making of the reports must carefully study the official documents used for the environmental impact assessment documents and document for consideration of submission following the established guidelines. in order to prepare for any required official documents, therefore in order to Doing so well promote
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20228
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1854
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1854
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Didsapong_po.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.