Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20232
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโภชนาการของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Effects of an integrated instruction on the academic achievement on the topic of nutrition of fourth grade students
Authors: เอกราช ดีเลิศ
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimutcha.W@chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การสอน
โภชนาการ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับกลุ่มที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดดวงแข จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนแบบบูรณาการ จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ จำนวน 32 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่องโภชนาการ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบด้านความรู้เรื่องโภชนาการที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.30 - 0.77 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.48 - 0.97 แบบสอบถามด้านเจตคติเรื่องโภชนาการที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 แบบสอบถามด้านการปฏิบัติเรื่องโภชนาการที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองด้วยตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมให้ครูประจำวิชาเป็นผู้ดำเนินการสอนตามปกติ มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนแบบบูรณาการพบว่า หลังการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติสูงขึ้น และเมื่อนำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการก่อนและหลังการเรียนแบบบูรณาการก็พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนแบบบูรณาการกับการเรียนแบบปกติพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ เมื่อนำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการของนักเรียนที่เรียนแบบบูรณาการกับนักเรียนที่เรียนแบบปกติก็พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนเรื่องโภชนาการแบบบูรณาการ มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
Other Abstract: This study was a quasi - experimental research. The purposes of the research were to study the effects of an integrated instruction on the academic achievement on the topic of nutrition of fourth grade students, to compare the academic achievement in nutrition teaching between an integrated instruction teaching method and the conventional teaching method, and to study the students' opinions concerning an integrated instruction teaching method in nutrition. The sample group was the fourth grade students of Watduangkhae school, during the second semester of academic year 2009. The 32 experimental group of students were assigned to study under an integrated instruction teaching method which was taught by the researcher while the other 32 control group of students was assigned to study with the conventional teaching method which was taught by health education teacher in that school. The research instruments were composed of four learning activity plans using an integrated instruction teaching method; the knowledge achievement test with 0.94 reliability, 0.48 - 0.97 discriminative level and 0.30 - 0.77 difficulty level; the attitude achievement test with 0.84 reliability; the practices achievement test with 0.84 reliability, and the questionnaire concerning the students' opinions on the instruction using an integrated instruction method. The obtained data were then analyzed in terms of percentages, means, standard deviation and t - test. The research findings were as follows : 1. The academic achievement in nutrition teaching of students after learning with an integrated instruction teaching method was scored higher than before learning. When comparing the academic achievement in nutrition teaching before and after using an integrated instruction teaching method were found significantly different at .05 level. 2. The academic achievement in nutrition teaching of students using integrated instruction method was scored higher in the areas of knowledge, attitudes and practices than the academic achievement of students learning with the conventional method. When comparing the academic achievement in nutrition teaching of students learning with an integrated instruction method and the students learning with the conventional method, there were found significantly different at .05 level in the areas of knowledge, attitudes and practices. 3. The students' opinions concerning the instruction using integrated instruction method in nutrition teaching were found at the very good level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20232
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.771
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.771
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
eakkaraj_de.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.