Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.authorเจนจิรา นาเมืองรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-10T14:55:44Z-
dc.date.available2012-06-10T14:55:44Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20239-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractห้องสมุดเป็นสถานที่ที่สำคัญต่อประชาชนมากในด้านความรู้ ห้องสมุดทุกวันนี้โดยทั่วไปเป็นเพียงแต่สถานที่นั่งอ่าน และยืมคืนหนังสือเท่านั้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่าห้องสมุดแห่งนี้จะสามารถพัฒนาได้มากกว่าด้วยการออกแบบ จึงเป็นที่มาของการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการออกแบบห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ จ.นครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความต้องการของห้องสมุดสาธารณะชุมชน ศึกษาปัจจัยด้านความสบายที่มีผลต่อการออกแบบห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน วิเคราะห์ปัจจัย และความต้องการ เพื่อกำหนดตัวแปรในการออกแบบ และก่อสร้างอาคารห้องสมุดให้เกิดเป็นนวัตกรรม และออกแบบ ก่อสร้างอาคารห้องสมุดต้นแบบด้วยนวัตกรรมที่ยั่งยืน ประหยัดพลังงาน มีประสิทธิภาพด้านการใช้งานสูง ตอบความต้องการของชุมชน โดยมีวิธีการศึกษาคือ จะสำรวจความต้องการของห้องสมุดสาธารณะจากแหล่งต่างๆ สัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์โดยตรง และวิเคราะห์บทความของผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาวะน่าสบายในด้านที่มีผลต่อการออกแบบห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพด้านการใช้งาน นำผลการศึกษาด้านปัจจัยด้านความสบายในการออกแบบอาคาร และผลการศึกษาลักษณะความต้องการของห้องสมุดสาธารณะชุมชนมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป็นตัวเแปรในการออกแบบ และก่อสร้างอาคารห้องสมุดต้นแบบ จากผลการวิจัยพบ ตัวแปรในการออกแบบให้เกิดเป็นนวัตกรรมคือ การเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารที่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนสูง นำความเย็นจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การออกแบบช่องแสงให้สามารถใช้แสงธรรมชาติได้อย่างมีคุณภาพ การออกแบบที่ส่งเสริมรายได้แก่ห้องสมุด ดูแลรักษาง่ายไม่เป็นภาระต่อชุมชน ผลสรุปนวัตกรรมการออกแบบที่เกิดขึ้นคือนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากดิน นวัตกรรมการใช้แสงอย่างมีกำไร นวัตกรรมการออกแบบอาคารพ่วงแหล่งรายได้ นวัตกรรมการเลือกรูปทรงอาคาร นวัตกรรมเทคนิค และวิธีการก่อสร้าง นวัตกรรมการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบห้องสมุดสาธารณะโดยการนำเอานวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยนี้มาใช้อย่างถูกหลัก และเป็นไปตามแบบแผน อาคารจะมีอุณหภูมิอากาศภายในได้เฉลี่ย 27 ℃ โดยยังไม่ใช้ระบบปรับอากาศ ความเข้มแสงพอเหมาะ และเพียงพอตามมาตรฐาน ไม่เกิดมุมมองที่มีแสงจ้า และหากเปรียบเทียบกับอาคารห้องสมุดที่ออกแบบก่อสร้างด้วยระบบทั่วไป จะพบว่าสามารถประหยัดพลังงานที่ใช้ในการทำความเย็นต่อพื้นที่ใช้สอยของอาคารได้ถึง 11 เท่าตัว สร้างได้รวดเร็วกว่าระบบการก่อสร้างทั่วไปถึง 7 เท่าตัว ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้ถึง 35% มีรายรับเข้าสู่ห้องสมุดมากกว่ารายจ่ายมากกว่า 1 เท่าตัว ทำให้เป็นห้องสมุดที่ยั่งยืน อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีประสิทธิภาพด้านการใช้งาน ประหยัดพลังงาน ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง คู่ควรในการเป็นอาคารต้นแบบในการสร้างห้องสมุดสาธารณะคุณภาพในสถานที่อื่นๆ อีกต่อไปen
dc.description.abstractalternativeLibrary is the essential place that provides knowledge for people. Currently, library is just the place for reading, borrowing and returning the books. Researcher thinks that this library can be improved by applying design and this concept leads to the research topic about Information Encyclopedia Library Model for Design Innovation, Nakornratchasima. The objective is to study needs of local community library, factor in term of comfort that influence efficiency of library, analysis of factors and needs to determine variables that create sustainable innovation in the design and construction of library in terms of energy saving, usage efficiency, ability to respond to local needs. Main research method is about studying the needs of local libraries from various sources by interviewing those who have direct experiences, analyzing articles of experts, studying factors related to comfort-stimulating conditions that influence design of efficient library. Study results in terms of comfort factors in building design and needs of local libraries will be analyzed to determine variables for designing and building library model. The research shows that design variables that can be transformed to innovation is about selecting building surface with heat-resistant capability, using cold from soil, designing window to efficiently use natural light, initiating design to generate revenue to library, and facilitating management without increasing problems to the societies. The design innovation include soil utilization innovation, smart light utilization to create profit, building design to generate revenue, building shape design, construction methods and techniques, material selection. Public library design that properly applies innovations created from this research can build optimum condition, average interior temperature is 27 C without air-conditioned system, brightness level is sufficient based on standard, no excess light. By comparing with libraries built by common construction systems, these innovations can promote 11 times more energy saving of cooling system per usage area, 7 times faster construction time than common systems, less 35% construction cost, 1 time more revenue generated. Library can be sustainably managed with usage efficiency and energy-saving capability that satisfy local needs and should be promoted as model to build quality public library in other placesen
dc.format.extent11817167 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1858-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectห้องสมุดประชาชน -- การออกแบบen
dc.titleนวัตกรรมการออกแบบห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ จ.นครราชสีมาen
dc.title.alternativeInnovative design prototype for encyclopedia library information, Nakhon Ratchasimaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsoontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1858-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jenjira_na.pdf11.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.